วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่ไข่ วัดบางเลน จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดบางเลน ตั้งอยู่ณ ต.กฤษณษ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี อยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี เป็นวัดสร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จผานมาโดยทางชบมารค พอถึงแหลมตรงที่สร้างวัดพระองค์เสด็จขึ้นไปเห็นทวดของหลวงพ่อไข่กำลังเก็บถั่วงาอยู่ พระองค์ดำรัสว่าที่ดินตรงนี้เหมาะแก่การสร้างวัด ทวดของหลวงพ่อไข่บอกว่าเป็นของแกเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเข้าอยู่หัว จึงขอให้สร้างวัดแล้วพระราชทานนามว่า วัดเกาะแก้ววงเดือน แต่ประชาชนถนัดปากแต่ วัดบางเลน เพราะมีเลนมาก




หลวงพ่อไขี ธมฺมรฺงสี เจ้าอาวาสวัดบางเลนเกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430 ชาติภูมิบ้านบางเลน ต.กฤษณา อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่อกอน มารดาชื่ออุ่ม มีพี่น้องด้วยกัน 7 คน อุปสมบทที่วัดโบสถ์ดอนลำแพน ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง เมื่อพ.ศ. 2451 โดยมีพระอาจารย์สน เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อไข่ไม่รู้จักหนังสือเลย แต่สมองดี บงชได้ไม่เท่าไร ก็อ่านหนังสือได้คล่อง สวดเจ็ดตำนานไม่มีผิด ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อเอี่ยม และหลวงพ่อสมวัดดอนบุปผาราม



ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ดังต่อไปนี้



1.เหรียญรุ่นแรก เนื้ออัลปาก้า รูปไข่ หลวงพ่อนั่งกางข้อศอกขวา 1500 เหรียญ มักจะเรียกกันว่า รุ่นแขนกาง สร้างปีพ.ศ.2502

2.เหรียญรุ่น 2 เนื้ออัลปาก้า เหมือนรุ่นแรกทั้งหมด เพียงแต่ข้อศอกหุบเข้าเท่านั้น 20,000 เหรียญ สร้างประมาณปลายปี 2502

3.เหรียญรุ่น 3 เป็นรุ่นเสาร์ห้า จำนวน 8000 เหรียญ พ.ศ.2509

4.เหรียญรุ่น 4 และแหนบ 3000 อัน พ.ศ.2512

5.เหรียญรุ่น 5 รูปเสมากะหลั่ยทอง 5000 เหรียญ พ.ศ. 2515

7.รูปเหมือนผง จำนวน 10,000 องค์โดยหลวงพ่อหยด ซิตสาโร ผู้สืบทอดวิชาหลวงพ่อไข่ เป็นผู้ทำและปลุกเสกเอง เอาอัฐิธาตุเถ้าถ่าน สบงจีวร ผมของหลวงพ่อ นำเอาป่นรวมกันกับผงเกสรร้อยแปด ผงอิทธเจ ปถมังใช้รูปเหรียญรุ่นแรกทำเป็นแม่พิมพ์ สวยงาม สร้างเมื่อพ.ศ. 2516 เป็นที่นิยมกันมาก



พระพุทธคุณของวัตถุมงคลของหลวงพ่อไข่ นั่นมีผู้ประสบมาแล้ว ถูกยิง ถูกฟัน และอุบึติเหตุจากรถยนต์หลายราย แต่ไม่เป็นไรเลย ถือว่าเป็นยอดแห่งพระเครื่องสายแคล้วคลาด คงกระพัน.




เจ้าอาวาสรุ่นต่อๆมา เช่นหลวงพ่อทองหยด พระอาจารย์เอกสิทธ์ ล้วนแล้วแต่มีวิชาดี ปลุกเสกพระเครื่อง ที่ทรงพุทธคุณอย่างแท้จริง ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนทั่วสุพรรณบุรี และ ยังแผ่ขยายไปทั่วประเทศ.

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติโดยย่อ อาจารย์เทพ พงศาวดาร The Biography of Archan Thep Pongsawadan

ประวัติโดยย่อ อาจารย์เทพ พงศาวดาร จ.ชัยภูมิ




อาจารย์เทพ พงศาวดาร เกิดที่จังหวัดชัยภูมิ อาจาย์เป็นผู้สนใจและฝักใฝ่ในเรื่องไสยศาสตร์มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เนื่องด้วยเกิดมาในครอบครัวของหมอธรรมและหมอปราบปอบ โดยทั้งคุณปู่และคุณตา ต่างเป็นหมอธรรม ทั้งคู่

ได้เรียนรู้ตำราเก่าของปู่และของตา ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ยินดีที่จะมีผู้สืบทอดตำราและวิชาโบราณ อาจารย์เทพ สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสามารถทำกุมารใช้เอง ในขณะที่อายุเพียง 13 ปี อาจารย์เรียนรู้หลายๆอย่างจากผู้เป็นตา และตาได้นำไปฝากเรียนเพิ่มด้านสมาธิ กับหลวงพ่อศักดิ์ชัย วัดสระแก้ว จ.สระแก้ว


เมื่ออายุครบบวช อาจารย์เทพก็ยังไม่หยุด ที่จะต่อวิชา ได้ไปหาตำราเพิ่มกับ หลวงพ่อวรพจน์ วัดชุมพล จ.ขอนแก่น เป็นเวลา 2 ปีในระหว่างบวช

ระหว่างทีบวช ก็ได้ตามุธุดงค์ไปกับหลวงพ่อ ถึงฝั่งลาว ได้วิชามาเพิ่มหลายอย่าง โดยเฉพาะวิชาด้านการบังคับสั่งผีต่างๆ จนสึกออกมาใช้ชีวิตฆราวาส แต่ก็ไม่สามารถทิ้งวิชาต่างๆได้ จึงเริ่มศึกษาอย่างจริงจังอีกครั้ง และเริ่มทดลองจัดสร้างวัตถุมงคลออกมา แรกๆจะให้กับคนใกล้ชิด ลูกศิษย์ใกล้บ้านใช้ก่อน เมื่อนำไปใช้ได้ผลอย่างไร อาจารย์ก็จะนำมาปลุกเสกเพิ่มเติม จนกว่าจะได้พลังอย่างที่ผู้ใช้พอใจ


ชื่อเสียงของอาจารย์จึงค่อยๆขยายออกไป เป็นปากต่อปาก จนได้รับการยอมรับและเชิญอาจารย์ไปต่างประเทศอยู่เนื่องๆ วัตถุมงคลของอาจารย์นั้น จัดสร้างในปริมาณที่จำกัด และผู้ที่บูชาไปมักจะเก็บไว้อย่างดี ไม่นำมาปล่อยต่อ เพราะตัวเขาใช้แล้วเห็นผลจริง ขณะนี้อาจารยพำนักอยู่บ้านเกิด จ.ชัยภูมิ .

Biography ofof Archan Thep Pongsawadan



When Archan Thep was 13 years old, he learnt black magic and also the ability to made powder of prai guman and takrut from his great grandfather and grandmother.



His maternal grandfather and grandmother then teach him advance level magic such as recite incantations to wake up the body of corpse. He also learns many magic subject from LP sakchai in wat sakeow.

While he was ordained (novice), he learn from LP wooraprot in jumpon , konken for 2 year

Archan thep also learn from many monk on pilgrimage in thailand and in Laos, studied many subject from Archan chum chaikeree also. Many people in asia who used his amulets do experience many good result as Archan thep is famous in doing magic for love, attraction and good career.

According to Archan Thep, all amulets are self made and also hard to find for component and special ingredients to do. Most of his amulets are made very little and will not be redoing again.

ประวัติโดยย่ออาจารย์ชนะ จ.ชัยภูมิ The Biography of Archan Chana

อาจารย์ชนะ มีแก้ว เกจิสายอาถรรพณ์ จ.ชัยภูมิ


อาจารย์ชนะ มีแก้ว เกิด 17 ม.ค. 2514 บ.หนองกุง ต.กวงโจร อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

บิดาชื่อนายผัน มีแก้ว มารดาชื่อนางมา มีแก้ว มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ครูบาเป็นคนที่ 6 อาชีพทำไร่ทำนา บิดานั้นเป็นนักเลงการพนันและนักเลงผู้หญิง ช่วงระหว่าที่ครูบากำลังจะเกิดบิดาไปเล่นพนันได้เงินมามากทีเดียว พอมาถึงบ้านมารดาก็คลอดครูบาออกมาพอดี ตอนบิดาจะเข้าหมู่บ้านทั้งยิงปืนและร้องรำทำเพลงกับเพื่อน พอมาถึงบ้านครูบาก็คลอดออกมาจึงตั้งชื่อว่า ชนะ ชื่อเล่นว่า ฟ้าสนั่น


หรือที่ใครๆรู้จักในนาม ครูบานะ ปู่ของครูบาท่านเป็นหมอธรรม (พ่อหมออาคมทางอีสาน) ปู่ท่านเก่งมากเป็นที่นับถือกับชาวบ้านหนองกุง จ.ชัยภูมิ รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ท่านเก่งคาถาอาคมน่าเกรงขามไม่ว่าจะเป็นเรื่องคงกระพันแคล้วคลาด และด้านมหาเสน่ห์ ที่สำคัญปู่ของครูบาท่านมีอายุถึง 75 ปีแล้ว แต่ก็มีเมียน้อยอายุเพียง 30 ปี นอกจากนั้นยังมีผู้หญิงมาติดพันอีกหลายคน ทำให้คุณย่าของครูบาทนไม่ได้ กินยาฆ่าตัวตาย เพราะความตรอมใจในความเจ้าชู้ของปู่



เมื่ออาจารย์อายุ 12 ปี ปู่ของอาจารย์ได้ประสิทธิ์ วิชามนต์ตรามหาเสน่ห์ให้และอื่นๆอีกมากครอบคลุมทั้งคงกระพันแคล้วคลาด และ วิชาการเป็นหมอธรรมระดับต้น อาจารย์ท่านก็ศึกษามาเรื่อยๆ เพราะความสนใจ



จนท่านอายุ 14ปี สำเร็จวิชาด้านเสน่ห์ไปมากแล้ว ถึงกับมีสาววิ่งตาม (ได้เมีย)



ท่านเล่าว่า จากอายุ14-28ปี ท่านได้เมียเป็นโหลเพราะลองวิชาเรื่อยๆ แต่อยู่กับใครไม่ได้สักคน จึงเกิดการเบื่อหน่ายเห็นว่ามีแต่ความวุ่นวาย ท่านจึงตัดสินใจบวชเมื่อายุได้ 25 ปี และเดินธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ท่านชอบนอนป่าช้าและตามป่าเขา เพื่อฝึกสมาธิให้แน่น และบางทีก็ได้เรียนวิชาเพิ่มเติมจากครูบาอาจารสายเหนือและลาวกับเขมร พื้นฐานสายวิชาต่างๆของอาจารย์จึงแน่นมาก อีกทั้งท่านเป็นอาจารย์ที่บวชเรียนมานาน พลังทางสมาธิจะแกร่งมาก ได้รับความยอมรับนับถือจากลูกศิษย์ทั้งในและต่างประเทศ ท่านบวชเรียนที่วัดป่าภูพานทอง ปัจจุบันได้สึกเป็นฆราวาสเพื่อช่วยเหลือลูกศิษย์ในด้านต่างๆ.

อาจารย์โอ พุทธรักษา (พระอาจารย์ธวัชชัย ชีวสุทโธ) วัดศรีสุพล จ.เพชรบูรณ์

อาจารย์โอ พุทธรักษา (พระอาจารย์ธวัชชัย ชีวสุทโธ) วัดศรีสุพล จ.เพชรบูรณ์


"พระอาจารย์ธวัชชัย ชีวสุทโธ" วัดศรีสุพล ต.ห้วยไร่ อ. หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ผู้สืบทอดสรรพศาสตร์วิชาโกเก้าโกฏิ สายสำเร็จลุน และสำนักกุญแจไสยเวท

" พระอาจารย์ธวัชชัย" หรือบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเรียกท่านว่า "พระอาจารย์พุทโธรักษา" ไม่ก็ "พระอาจารย์โอ" ส่วนที่เรียกว่าพระอาจารย์พุทโธรักษานั้นก็คงจะมาจากคำให้พรของท่านที่มักจะ ให้พรลูกศิษย์ต่างๆ ว่า พุทโธรักษา จนติดปาก พระอาจารย์โอท่านเป็น พระนักปฏิบัติธรรมและชอบศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ เพราะหมั่นศึกษาหาความรู้มาตั้งแต่วัยเยาว์ โดยเริ่มศึกษาความรู้วิชาสายสำเร็จลุนจากปู่ของท่าน ที่เป็นหมอธรรมผู้เลื่องชื่อแห่งอำเภอหล่มสัก และเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาธรรมเก้าโกฏิซึ่งน้อยคนนักที่จะเจนจบในศาสตร์วิชา สายนี้ ต่อมาก็ยังได้ศึกษาจากฤๅษีและพระเกจิอาจารย์อีกหลายๆ รูป.

ประวัติโดยย่อ อาจารย์ฤๅษีสมพิศ ญาณโสภี The Biography of Archan Ruesii Sompis Yannasopi

ประวัติของอาจารย์ฤาษีสมพิศและการช่วยเหลือผู้คน


ท่านเป็นชาวเมืองลพบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านพุน้ำทิพย์ ต.หนองแขม อ.โคกสำโรง สมัยก่อนตามบ้านนอกหาโรงเรียนยาก พ่อแม่จึงนำ ด.ช สมพิศ ไปฝากเป็นศิษย์พระที่วัดพุน้ำทิพย์เพื่อร่ำเรียนหนังสือ ที่วัดพุน้ำทิพย์นี้เองมีพ่อเฒ่าอ่อนและย่าดำถือศีลเจริญภาวนา ทำกรรมฐาน-วิปัสสนา เป็นหัวเรียวหัวแรงชักชวนชาวบ้านและคนแก่ถือศีลอยู่วัด ชาวบ้านจึงนับถือท่านทั้งสองมาก อาจารย์ฤาษีสมพิศจึงได้มีโอกาสศึกษาหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี ตลอดจนคาถาอาคมต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคัมภีร์อิติปิโสรัตนมาลา โดยมีพ่อเฒ่าอ่อนและย่าดำเป็นผู้ถ่ายทอดให้ด้วยความเมตตา ต่อมาอายุได้ 14 ปี ได้เรียนวิชาธรรมขุนแผนจากอาจารย์ธรรมท่านเป็นพระธุดงค์มาจากทางอีสาน อันวิชาธรรมขุนแผนนี้เป็นวิชาที่สามารถเรียกเอาวิญญาณขุนแผนให้มาเข้าสิงในร่าง คนได้ เพื่อสอบถามเรื่องราวหรือถามเอาวิชาคาถาอาคมที่สำคัญต่างๆ ได้ พร้อมกันนั้นยังได้เรียนวิชาธรรมฤาษี อันเป็นข้อปฏิบัติของการเป็นฤาษี ผู้เรียนวิชานี้ต้องไม่ตัดผมอย่างน้อย 3 ปี มิเช่นนั้นจะเป็นบ้า ไม่เอาหลังผิงฝา พิงเสา อีก 7 ปี ไม่กินเนื้อดิบ ไม่กินเหล้า และข้อปฏิบัติอื่นๆ อีกมากมายหลายข้อจนสำเร็จ สามารถติดต่อกับอาจารย์ทางจิตได้โดยไม่ต้องพบหน้ากันเลย จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดถ้ำทอง (ปัจจุบันคือวัดถ้ำสิทธาราม) ได้รับฉายาว่า "ญาณโสภี" แปลว่าผู้มีญาณอันงดงาม หลังจากบวชได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพุน้ำทิพย์ ระหว่างอยู่จำพรรษาที่วัดพุน้ำทิพย์ประมาณปีกว่าๆ ได้มีอาจารย์ทมอยู่สิงห์บุรีมาเป็นอาคันตุกะที่วัด ได้พูดคุยกันจนถูกอัธยาศัย จึงชักชวนกันออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ทั้งทางภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง เพื่อหาเล่าเรียนวิชาจากอาจารย์ต่างๆ ซึ่งได้พบเจอระหว่างได้เรียนวิชาทางเมตตา มหานิยม และวิชาธรรมเก้าโกฐกับหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ จ.ศรีสะเกษ ศึกษาวิชาอาคมจากอาจารย์ฆราวาสอีกมากมายหลายท่านระหว่างธุดงค์ไป จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ มีทั้งอาจารย์ชาวเขมรและชาวลาว



กลับมาอยู่ลพบุรี ได้ไปธุดงค์จาริกรุกมูลกับหลวงปู่โสม ธมมปาโล ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา และเป็นลูกศิษย์หลวงตายี หลวงปู่โสมเมื่อท่านจะออกธุดงค์ท่านจะชวนพระอาจารย์สมพิศไปด้วยทุกครั้ง และท่านก็จะฝึกให้ทำให้ได้เหมือนท่าน ท่านจะพานั่งสมาธินานๆ ขนาดจุดธูปหมดไปต่างหลายเที่ยวแล้วยังไม่เลิกนั่ง จนกระทั่งคนที่มารอขอของดีต่างเข็ดขยาดไปตามๆ กัน แต่ทุกคนก็ไม่ยอมถอยหนี ยิ่งมาเยอะขึ้นเรื่อยๆ เพราะก่อนที่ท่านจะให้ของดีท่านจะพาสวดมนต์ นั่งฟังสวดมนต์นานๆ ต่อจากนั้นก็จะสอนให้นั่งสมาธินานมาก บางครั้งตี 2 ตี 3 ยังไม่เลิกก็มี แต่ทำให้ทุกคนได้ใช้ความอดทน และที่ร้อยเอ็ดได้ฝากตัวเป็นศิษย์ปู่จันทา เป็นฆราวาสจอมขมังเวทย์ สามารถภาวนาคาถาอาคม ทำให้มีแสงสว่างออกจากตัวได้เหมือนมีตะเกียงจ้าวพายุ ท่านจะเดินนำหน้ากลางป่าในเวลากลางคืนเดือนมืด ทำให้เห็นทางได้สะดวก ท่านได้เมตตาถ่ายทอดวิชามหาสาวัง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วิชาทิพย์มนต์ มีอานุภาพทางคุ้มกันภัย ทำเป็นน้ำมนต์รดหรืออาบจะขจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคล และทุกข์โศก มีความสุข ความเจริญ ต่อมาได้ธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่คำคะนิง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับครูบาอินทจักรจนท่านมรณภาพ จึงมาศึกษาเพิ่มเติมกับครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.บ้านซาง จ.ลำพูน จากนั้นจึงธุดงค์กลับไปอยู่กับครูบาธรรมชัย ที่วัดทุ่งหลวงแม่แตง จ.เชียงใหม่ อีกหนึ่งพรรษา และธุดงค์ต่อไปจนถึงแม่ฮ่องสอน ได้เรียนวิชาคุ้มกันภัย กันกระทำคุณไสย และวิชาเมตตามหานิยมจากเจ้าคณะอำเภอแม่ลาหลวง ท่านเป็นชาวไทยใหญ่ ดังนั้นคาถาอาคมต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจึงเป็นภาษาพม่า เมื่อศึกษาร่ำเรียนวิชาจนจบจึงได้กราบลาอาจารย์ ธุดงค์ต่อไปถึงเขตพม่า ได้พบผู้มีอาคมขลังคนหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกได้มีการลองวิชากันทั้งทางคงกระพันและการปล่อยคุณไสยต่างๆ มีทั้งการปล่อยวัวธนู ควายธนู ตะปู หนังวัว หนังควาย และอื่นๆ อีกสารพัด พ่อเฒ่าคนนี้อยู่คนเดียวในป่า ถือสันโดษทำตนเป็นนักพรต ปฎิบัติตนแบบฤาษี ภายหลังได้พูดคุยกันและถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ผู้เฒ่าได้เล่าประวัติความเป็นมาของท่าน ว่าท่านเป็นชาว จ.สระบุรี เมื่อได้บวชเป็นพระก็ขึ้นไปอยู่ทางอีสาน และฝั่งลาวได้เล่าเรียนอาคมสารพัดและได้เป็นลูกศิษย์สำเร็จลุน เรียนวิชาอาคมจนจบ จึงออกธุดงค์ต่อไปตามที่ต่างๆ หลายประเทศ เช่น ลาว เวียดนาม จีน พม่า อินเดีย มอญ ศรีลังกา เขมร จากนั้นจึงย้อนกลับมาอยู่แม่ฮ่องสอน ท่านเป็นผู้รู้สัมภิทาญาณ สามารถพูดได้ทุกภาษา ท่านผู้เฒ่าบอกว่าท่านชื่อศรีจันทร์ จึงเรียกท่านว่าอาจารย์จันทร์บ้าง ตาผ้าขาวจันทร์บ้าง หรือฤาษีจันทร์บ้าง ท่านเล่าว่าเหตุที่สึกจากพระและมาปฎิบัติตนแบบฤาษี เพราะว่าสบายดีและสะดวกต่อการปฏิบัติธรรม หาความสงบวิเวกในป่า ที่สำคัญท่านชอบแม่ฮ่องสอนมาก เพราะคนที่นี่ไม่มีการลักขโมยกัน ในเวลาต่อมาตาผ้าขาวจันทร์ได้ถ่ายทอดวิชา ตลอดจนเคล็ดวิชาต่างๆ ให้กับอาจารย์สมพิศ (ในขณะนั้น) จนหมดสิ้น จึงได้กราบลาตาผ้าขาวจันทร์ผู้เป็นอาจารย์ออกเดินธุดงค์ต่อไปเรื่อยจนถึงพิษณุโ ลก



ได้พบพระภิกษุจำนวนมากเดินธุดงค์อยู่ จึงได้ร่วมขบวนธุดงค์ไปด้วย โดยมีพระภิกษุชราองค์หนึ่งเป็นผู้นำในการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งพระทุกรูปจะเรียกท่านว่า ปู่ใหญ่ และจากการติดตามขบวนธุดงค์ในครั้งนี้เอง จึงทำให้ได้มีโอกาสปรนนิบัติใกล้ชิดกับปู่ใหญ่ วันหนึ่งด้วยความเมตตา ท่านจึงเรียกพระภิกษุสมพิศเข้าพบ และบอกว่าจะถ่ายทอดสุดยอดวิชาทางเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ และแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีให้อีกด้วย นับว่าเป็นบุญกุศลของพระภิกษุสมพิศอย่างมากมายนัก เพราะท่านบอกว่าไม่เคยถ่ายทอดให้ใครเลย ตั้งแต่ท่านได้ร่ำเรียนมา เป็นวิชาที่ครูบาอาจาย์เก่าแก่ท่านหวงแหนมาก แต่ด้วยที่ท่านเล็งเห็นถึงจิตใจที่มุ่งมั่นในการไขว่คว้าหาความรู้ทางคาถาอาคม และเวทย์มนต์คาถาของพระภิกษุสมพิศ ประกอบท่านคงเล็งเห็นด้วยญาณสมาบัติ ว่าพระภิกษุสมพิศเหมาะสมกับการที่จะถ่ายทอดวิชานี้ให้ ท่านจึงถ่ายทอดวิชาเทพสังวาส ให้กับพระภิกษุสมพิศโดยไม่ปิดบังอำพรางแม้แต่น้อย ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาเทพสังวาสจนจบ จึงได้กราบลาปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ต่อไปทางภาคกลาง ถึงจ.อยุธยา ได้เรียนวิชา 9 เฮ อันเป็นสุดยอดวิชาทางคงกระพันชาตรี สายหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ จากอาจารย์ฆราวาสชื่อตายืน (ตายืนผู้นี้เป็นศิษย์หลวงพ่อกลั่น) พระภิกษุสมพิศอยู่ร่ำเรียนวิชา 9 เฮ จนสำเร็จ จึงธุดงค์ต่อไปหาหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี มาถึงวัดนี้ไม่พบหลวงพ่อมุ่ยแล้ว เพราะท่านดับขันธ์ไปเสียก่อน แต่ได้ไปเรียนวิชากับโยมและพระอาจารย์วัดหนองกระเถา ศิษย์หลวงพ่อมุ่ย อยู่ 3 ปี ไปๆ มาๆ จังหวัดสุพรรณบุรีเสมอ ช่วงเวลานั้นได้มาเรียนวิชาอยู่กับหลวงปู่ช่อ วัดฤกษ์บุญมี (ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางโคนม) หลวงปู่ช่อท่านได้เมตตาถ่ายทอดวิชาการเป่ายันต์เกราะเพชร และวิชาต่างๆ อีกมากมาย เพราะไปๆ มาๆ อยู่กับหลวงปู่ช่อถึง 10 กว่าปี ท่านอาจารย์ฤาษีสมพิศ ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่หาความรู้ในวิชาอาคมอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง ทั้งเมื่อยังเป็นเพศบรรชิต รวมเวลาทั้งหมด 14 พรรษา 15 ปี ออกเดินธุดงค์ 11 พรรษา หลังจากสึกออกมาเป็นฆราวาส เมื่อปี 2532 ก็มุ่งหน้าปฏิบัติอยู่ตามป่า ตามเขา ตามถ้ำต่างๆ อีกมากมายหลายแห่ง หลายที่ หลายปี ได้เวลาพอสมควรก็จะกลับมาอยู่บ้านบ้าง กระทั่งในปี 2532 คุณไทยดำ นักเขียนอาวุโสของนิตยสารฉบับหนึ่งได้มาเชิญอาจารย์ฤาษีสมพิศไปออกงานวิทยาศาสต ร์ทางจิต ณ.สถาบันรัชต์ภาคย์ ในงานนี้มีฤาษีจากที่ต่างๆ มากมายกว่า 40 ประเทศ จุดประสงค์เพื่อให้ฤาษีแต่ละองค์ได้แสดงความสามารถทางจิต และอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ ไปตามแต่ถนัด หนึ่งในนั้นคืออาจารย์ฤาษีสมพิศได้แสดงการกินถ่านไฟแดงๆ การเททรายเข้าตาโดยที่ไม่มีอาการเคืองตา การลองวิชาคงกระพัน น้ำมันที่เหลือจากการทำพิธีอาบนั้น สามารถนำมาทาแก้ปวดได้ผลชะงัดนัก สิ่งต่างๆ ที่อาจารย์ฤาษีสมพิศได้แสดงให้ประชาชนได้รับรู้ ได้เห็น ได้สัมผัสเป็นเพียงวิชาส่วนหนึ่งที่ท่านได้ร่ำเรียนมาเท่านั้น เพราะตลอดชีวิตที่ผ่านมาของท่านนั้น ได้สร้างสมวิชาการทุกแขนง ตลอดจนเวทย์มนต์คาถาอาคมไว้มากมายที่ได้จากอาจารย์ที่เป็นพระและอาจารย์ฆราวาสก ว่า 40 ท่าน

อาจารย์ฤาษีสมพิศ นับเป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มีวิชาความรู้ และเป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือ ผู้คน ในเรื่องต่างๆ มามาก เช่น การดูดวงชะตา ทำพิธีทางโหราศาสตร์ บรวงสรวงตั้งศาลพระภูมิ ตั้งศาลพระพรหม พิธีวางศิลาฤกษ์ สะเดาะเคราะห์ พิธีลงทองเสริมสง่าราศี การสักยันต์ พิธีตัดกรรรม และอื่นๆ



วิธีการตัดกรรมของอาจารย์ฤาษีสมพิศ ลักษณะคล้ายๆ กับวิธีของวัดเขาสมโภชน์ จ. ลพบุรี และต่างกันที่คำภาวนา และส่วนใหญ่ที่ไปแก้กรรมหรือเข้าพิธีตัดกรรม เกือบร้อยละ 90 มักจะได้กัน บางท่านก็แสดงอาการต่างๆ เช่น เจ้าแม่กวนอิมมาลง หลวงปู่โลกเทพอุดรมาลง บางท่านก็ได้สมาธิ เมื่อได้มาอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ทำให้การเจริญสมาธิเร็วขึ้นหลายเท่า ท่านสักยันต์ให้ลูกศิษย์มานานหลายปีแล้ว ลูกศิษย์บางคนที่สักยันต์คงกระพัน เคยเล่าว่าเครื่องจักรกลบีบทับนิ้ว แต่ก็ไม่เป็นอะไรคงเป็นเพราะอนุภาพความศักดิ์สิทธิ์แห่งมหายันต์นั้น

Biography of Arjan Ruesri Sompit Nyanasophi


Ajahn Reusi Sompit Nyanasophi



Ajahn Sompit was born in the Lopburi province of Thailand. From a young age he expressed an interest in both Buddhism and the occult sciences. As is tradition, he ordained as a novice monk when he was still a child. Though he was not a novice for long he did get a chance to meet two lay people, a man and a woman, who took them as his student. These two lay people were practicing the eight precepts and abstaining from eating any meat. People who practice in this manner are known as nak phatibat. They have knowledge of different sciences and practice meditation. From these two teachers he learned various methods of saiysaht and putthamon. Even after disrobing as a novice he continued to learn from these two teachers. After living as a novice he became a dek wat, or a temple boy. This means he lived at the temple and helped the monks with various tasks. He was also able to study with the monks and any other teachers that were willing to teach him there.

Later at age 20, Ajahn Sompit ordained as a monk. He was a monk for about 15 years. During this time he met with and was the student of many different and famous geji ajahn, or meditation masters. He learned all sorts of sciences such as astrology, fortune telling, incantations, etc. He also went on tudong, for many years. This is when a monk goes on foot to live in the forest, caves, mountains, etc. At this time, Ajahn Sompit travelled throughout most of the country and also went to Burma, Laos and Cambodia. He was on a search for teachers and places to practice his mediation.

While still on tudong, Ajahn Sompit met a reusi named Reusi Puth. This reusi was living on a mountain in the Pechabun province of Thailand. Ajahn Sompit stayed to study with this reusi for some time. Later, Ajahn Sompit decided to give up the life of a monk and ordain as a reusi. For him, this path suited his practice better. The life of a reusi was not governed by the rules of a monk. …

ประวัติโดยย่อหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร วัดศรีนวล (เสือดำ) The Biography of LP Taweesak Chutinataro

ประวัติโดยย่อ ของหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร (หลวงพ่อเสือดำ) วัดศรีนวล หนองแขม




เสือดำ จอมโจรชื่อดังในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ เสือใบ เสือฝ้าย เสือมเหศวร มีชื่อจริงว่า ระพิน ได้ชื่อว่าเสือดำ จากการสวมชุดดำเวลาออกปล้น และใช้ปืนคู่ แต่เมื่อเวลาออกปล้นจะต้องประกาศให้เจ้าทรัพย์รู้ก่อนล่วงหน้าเป็นสัปดาห์และปล้นด้วยความสุภาพ นิยมปล้นแต่คนรวยให้คนยากจน จนได้รับฉายาว่า สุภาพบุรุษเสือดำ เช่นเดียวกับเสือใบ



เสือดำ ถูกปราบได้ด้วยขุนพันธรักษ์ราชเดช นายตำรวจมือปราบชื่อดัง โดยขุนพันธ์ ฯ ให้โอกาสเสือดำกลับตัว เสือดำจึงไปบวชกับ พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจในยุคนั้น และบวชมาจนบัดนี้



ปัจจุบัน เสือดำ คือ หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร อายุมากกว่า 80 แล้ว แต่สุขภาพก็ยังแข็งแรงอยู่ และมักได้รับเชิญเป็นประธานในพิธีเสกวัตถุมงคลร่วมกับ เสือใบ และ เสือมเหศวร เสมอ ๆ



หลวงพ่อดำเนินโครงการสาธารณะประโยชน์ โรงเรียนฝึกอาชีพ และ โรงพยาบาล รักษาพระสงฆ์อาพาธขนาด 200 เตียง ท่านเป็นพระเกจิที่สรรเสริญบูรพกษัตริย์ไทยเป็นอย่างสูง..

ประวัติโดยย่อพระอาจารย์ นคร โฆสการี (พระอาจารย์ปุ้ม) วัดศาลาแดง The Biography of Archan Poom

ประวัติโดยย่อ ของ พระอาจารย์ นคร โฆสการี (พระอาจารย์ปุ้ม) วัดศาลาแดง




จำพรรษาอยู่ที่ กุฏิสุดภวา วัดศาลาแดง คลองทวีวัฒนา

แขวง บางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ( ใกล้สนามหลวง2)


ท่านได้ศึกษาวิชาความรู้มาจากหลายอาจารย์ หลายแขนง ท่านจึงมีความรู้หลากหลาย ลูกศิษย์ ที่ไปหาท่านส่วนใหญ่จะไปให้ท่านสักให้ หรือไปให้ท่านฝังเข็มทองคำที่สามารถวิ่งได้ทั่วร่างกาย เพื่อเตือนภัยที่จะมาใกล้ตัว วัตถุมงคลของท่าน ทุกชิ้น ท่านอาจารย์เป็นผู้จัดสร้างเอง ไม่มีนายทุน แต่ละแบบจะมีจำนวนการสร้างไม่เยอะ ส่วนใหญ่เป็นเพียงหลักร้อยต้นๆ เท่านั้นเอง เพราะท่านทำเพื่อให้ ลูกศิษย์และผู้ศรัทธาในตัวของท่านนำไปใช้ ..



การสัก หรือ การฝังเข็ม หรือประกอบพิธีกรรมอื่นๆ

สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบในเรื่องการสัก และ อยากทราบวิธีการที่จะเข้าไปให้อาจารย์ปุ้ม ทำพิธี สัก หรือ ฝังเข็ม พระอาจารย์ปุ้ม ท่านจะสักให้กับลูกศิษย์ทุกท่านที่มาของให้ท่านสักให้ งดประกอบพิธี หลัง 18.00 น. ส่วนใหญ่ท่านจะอยู่ที่วัดทุกวัน หนอกจากท่านจะติด กิจนิมนต์ หรือติดธุระ


งดสัก งดฝังเข็ม = วันพระ



ฝังเข็มทอง = วันอังคาร พฤหัส เสาร์

สิ่งที่ต้องเตรียม
ธูป เทียน และค่าบูชาครู หรือจะซื้ออะไรไปถวายก็แล้วแต่ท่านจะนำถวาย หลังถวายให้กรวดน้ำอุทิศกุศลให้กับญาติและบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ


ข้อห้าม

1 ห้ามด่าบุพการี ทั้งของตัวเอง และผู้อื่น

2 ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น

3 ห้ามเตะสุนัข

4 ห้ามถุยน้ำลายลงโถส้วม

ประวัติโดยย่อครูบาคำเป็ง สำนักสงฆ์มะค่างาม The Biography of Kruba Kampeng

ประวัติโดยย่อครูบาคำเป็ง สำนักสงฆ์มะค่างาม The Biography of Kruba Kampeng



ท่านเป็นคนสกลนคร โดยกำเนิด เชื้อสายจีน ท่านสนใจธรรมะ เข้าวัดตั้งแต่อายุ 17 ปี เป็นลูกศิษย์ สายวัดป่า แต่จริตท่านชอบสร้างวัตถุมงคล ปัจจุบัน (2552) ท่านอายุ 68 ปี จำพรรษาอยู่ที่ วัดถ้ำแสงเพชร บ้านเพชรนิยม ต.สักงาม อ.คลองลาน จ. กำแพงเพชร




ท่านบวชช่วงวัยกลางคน ตอนอายุ 50 ปี เคยแต่งงานมีครอบครัวก่อนที่ท่านจะมาบวช ก่อนหน้าที่ท่านบวชท่านได้พบเหตุอัศจรรย์ คือ ท่านนอนอยู่แล้วเห็น หลวงพ่อ โอภาสี เดินทะลุฝาห้องมาบอกว่า เป็นพี่น้องกับท่าน มีอยู่ 3 คน พี่ใหญ่คือ หลวงพ่อกบ พี่รองคือหลวงพ่อโอภาสี ส่วนน้องเล็กคือ ท่านเอง หลวงปู่คำเป็ง และมาเตือนให้ท่านเร่งภาวนา (เดี่ยวตามพี่ๆ ไม่ทัน)



หลังจากท่านบวชในช่วงพรรษาแรก ได้ท่านศึกษาพระไตรปิฎก คือ อ่านอย่างเดียว อ่านจนหมดตู้ อ่านพรรษาละหลายๆ รอบ จนกระทั่ง คิดว่าเลิกอ่านดีกว่า หันไปภาวนา หลังจากนั้นท่านเร่งภาวนาอย่างหนัก จนกระทั้งวันหนึ่งท่าน ได้พิจารณากฎของไตรลักษณ์ ลึกเข้า ลึกเข้า จนถึงจุดหนึ่ง ท่านก็ได้รู้สึกเหมือนกับมีพลังอย่างหนึ่งผลักท่านออกมา ท่านก็พยายามทำอีก แต่ก็ประสบผลอย่างเดียวกันหลายครั้ง จนกระทั้งท่านมาพิจารณาและทราบได้ว่า ตัวท่านเองปารถนาพุทธภูมิมาหลายชาติแล้ว และได้รับพุทธทำนายแล้วว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต ท่านจึงหันมาทำบารมีต่อไป ท่านเคยแนะนำผมด้วยเมตตาว่า ถ้าอยากได้พุทธทำนายในอนาคต ให้เร่งหานิพพานให้เจอเสียก่อน(ประมาณว่าทำบารมีให้ไปนิพพานได้เสียก่อน พอบารมีเต็มแต่ไม่เอาสาวกภูมิ แต่มุ่งเอาพุทธภูมิ ) จึงจะมีโอกาสได้รับพุทธพยากรณ์



หลังจากนั้นท่านก็หันมาศึกษาวิชา ศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งไสยศาสตร์ และเริ่มสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล เนื่องจากท่านเคยเกิดเป็นหลวงจีน (ท่านเกิดเป็นคนจีนอยู่หลายชาติมาก เพราะเหตุว่าท่านชอบและผูกพันกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้น ) ท่านจึงเชี่ยวชาญเรื่อง วิถีแห่งพลัง ต่างๆอย่างมาก และท่านยังมีความเกี่ยวเนื่องกับพระแม่กวนอิมค่อนข้างมาก

พระเครื่องที่ท่านสร้างในยุคแรกๆ นั้น มีหลายรูปแบบ เนื่องจากใช้ฝีมือชาวบ้านทำ อาจไม่ค่อยสวยในแง่ศิลปะ แต่เรื่องพลังที่สถิตอยู่ในวัตถุมงคลนั้น แรงมากๆ ในช่วงแรกท่านศึกษาและลองทำวัตถุมงคลประเภทมหาอุตต์ ต่อมาก็ทำแบบมหาเสน่ห์ แต่ตอนหลังท่านหันไปเน้นเรื่องโชคลาภค้าขาย

วัตถุมงคลของท่านใช้เวลาในการปลุกเสกนานมาก คือ 7-8 ปี เพราะอยากให้เป็นสุดยอด ...........

ประวัติโดยย่อครูบาสุบิน สุเมโส วัดทองสะอาด จ.ปทุมธานี The Biography of Kruba Subin

ครูบาสุบิน สุเมธโส


 
พระเกจิผู้มากด้วยสรรพวิชา คาถาอาคม แห่งล้านนาผู้รอบรู้แตกฉานในไสยศาสตร์วิชาหลายแขนง



ท่านถือกำเนิดที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นศิษย์ครูบาอิ่นแก้ว วัดป่าแงะ เคยศึกษากับครูบาหน้อย วัดบ้านปง และได้ศึกษากับครูบาอาจารย์อีกหลายรูป ไม่ว่าจะเป็นทางล้านนา ทางพม่าและทางกระเหรี่ยง พระครูสิริสุภาจารย์ วัดป่าคู ก็เป็นอาจารย์สอนวิชาอาคมไสยศาสตร์ให้ท่านอีกรูปหนึ่ง เป็นอาคมด้านแคล้วคลาดโดยเฉพาะกับหลวงปู่ครูบาอิ่นแก้ว ครูบาสุบินได้สืบทอดวิชาเทียนมหาเศรษฐีพันอย่าง



นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากอาจารย์สุวรรณ ซึ่งเป็นฆราวาส ในด้านการสะเดาะเคราะห์สักยันต์ ฆราวาสคนสำคัญที่สอนวิชาให้ท่านอีกหนึ่งท่านก็คือพ่อหนานดวงตา ซึ่งเป็นศิษย์เอกที่ใกล้ชิดของครูบาศรีวิชัยมีตำราการบำเพ็ญ ภาวนากรรมฐาน ที่ครูบาศรีวิชัยเขียนเป็นภาษาล้านนา พ่อหนานดวงตาได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีและวิชานี้ได้ตกทอดมาถึงครูบา สุบิน นอกจากนี้ท่านยังศึกษาตำราทำยันต์ และวิชาเสริมดวง เสริมบารมี กันของกันคุณไสย โดยปกติแล้วครูบาสุบินชอบ ที่จะศึกษาวิชาอาคมไสยศาสตร์เร้นลับโดยเฉพาะเรื่องสักยันต์ และวิชาเสริมดวง ขุนแผนและเครื่องรางอาถรรพณ์ของท่านจะเน้นด้านมหาเสน่ห์เป็นหลัก

ประวัติโดยย่อ หลวงปู่หล่ำ สิริธัมโม วัดสามัคคีธรรม ซ.ลาดพร้าว 64

หลวงปู่หล่ำ”เจ้าอาวาส ปัจจุบัน สิริอายุ 80 ปี 60 พรรษา ท่านเรียนภาษาขอมตั้งแต่เด็กกับ อาจารย์ฉัตร ผาสุโก อุปสมบทที่วัดบางหญ้าแพรก จ.สมุทรปราการ เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อเผย วัดบางหญ้าแพรก และสืบสานวิชาของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า กับอาจารย์พานต์ นนทตา และเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี


หลวงปู่หล่ำเป็นพระที่พูดน้อย ไม่ถามไม่พูด แต่เปี่ยมไปด้วยเมตตาบารมี ญาติโยมที่มีทุกข์ต่างๆ นานา เมื่อมาหามักจะไม่ผิดหวัง ท่านจะช่วยปัดเป่าด้วยมนต์คาถาที่ได้ร่ำเรียนมา โดยการประกอบพิธีลงทองครอบจักรวาล ลงนะหน้าทอง สาลิกาลิ้นทอง ลงมือเรียกทรัพย์ จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่นักธุรกิจที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สามารถมีพลังพลิกฟื้นกลับมาสร้างความมั่นคงอีกครั้งด้วยบารมีของท่าน จะเห็นได้ว่าทุกเย็นวันเสาร์อาทิตย์จะมีประชาชนเข้าคิวรอทำพิธีกันเนืองแน่น



ในเรื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่หล่ำ โดยเฉพาะเครื่องรางของขลัง "เบี้ยเศรษฐี" ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของศรัทธาสาธุชน เพราะนำไปใช้แล้วได้ผลทันตาเห็น ไม่ว่าจะเรื่องค้าขาย เรื่องโชคลาภ อีกทั้งป้องกันภัย ผู้ที่ได้มีไว้บูชาต่างยืนยันกันว่า เข้มขลังมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงเป็นที่กล่าวขานกันว่าใครมีแล้วไม่รู้จักจน เป็นสุดยอดเบี้ยแก้จน




หลวงปู่หล่ำจัดสร้างเบี้ยเศรษฐีตามตำรา "ครูปู่ฤษี" โดยนำเม็ดเงินมาเสกบรรจุไว้ภายใน แล้วอุดทับด้วยชันโรง ผสมผงและฝังตะกรุดเสริมดวง จึงเด่นด้วยพลังมนตรา เรียกทรัพย์แก้จน กล่าวกันว่า ถ้าจะขอสิ่งใดก็ให้เขย่าเบี้ยแก้ แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอสิ่งที่ต้องการจะสำเร็จ เงินทองมีมาไม่ขาดสาย จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ ผู้คนเกรงขาม เป็นเสน่ห์ เมตตามหานิยม และที่เบี้ยเศรษฐีหลวงปู่ได้ตอกโค้ตกันปลอมและสร้างจำนวน 680 ตัวเท่านั้น

การนี้จึงขอเชิญศรัทธาสาธุชนร่วมทำบุญกฐินสามัคคีมหากุศล และร่วมบุญบูชาเบี้ยเศรษฐี เพื่อนำปัจจัยไปสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่หลวงปู่หล่ำสร้างยังไม่เสร็จ ซึ่งก็ได้ชื่อว่าได้ทำบุญเต็มที่ ได้สร้างอริยทรัพย์ฝากไว้ในพระพุทธศาสนา แล้วยังได้ของดีไว้ติดตัวอีกร่วมทำบุญเป็นกองกฐินกองละ 1000, 200, 500, ทางวัดจะมอบผ้ายันต์ และเหรียญพรหมสี่หน้าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า มอบเป็นพระของขวัญให้ทุกท่านที่ได้ร่วมทำบุญ สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดสามัคคีธรรม ถนนลาดพร้าว ซอย 64 แขวง/เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ

-ที่มาข้อมูล จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด-

ประวัติโดยย่อพระอุดมประชานาภ(หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ) วัดบางพระ จ.นครปฐม

ประวัติ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม



"พระอุดมประชานาถ" นามเดิม เปิ่น นามสกุล ภู่ระหงษ์ เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๖ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านเลขที่ ๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายฟัก นางยวง ภู่ระหงษ์ เป็นบุตรคนที่ ๙ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันรวม ๑๐ คน คือ



๑. นางจันทร์ อ่ำระมาด ถึงแก่กรรม



๒. นางอินทร์ คงประจักษ์ ถึงแก่กรรม



๓. นายเถิ่ง ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม



๔. นายชุ ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม



๕. นางไว ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม



๖. นายเลื่อน ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม



๗. นายไล้ ภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม



๘. นางรองภู่ระหงษ์ ถึงแก่กรรม



๙. พระอุดมประชานาถ "เปิ่น ภู่ระหงษ์"



๑๐. นางอางค์ เฮงทองเลิศ



ชีวิตปฐมวัยของหลวงพ่อเปิ่นนับเนื่องแล้วเป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างที่สุดที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในสมัยนั้นแถบถิ่นลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีอุดมมากไปด้วยวิชาอาคมอาจเนื่องด้วยที่นั่น


ไกลปืนเที่ยงในตอนนั้นการเรียนรู้วิชาเอาไว้เพื่อป้องกันตัวจึงถือเป็นหนึ่งในลูกผู้ชายทุกคนจักพึงมีหลวงพ่อเปิ่นสนใจในเรื่องของไสยศาสตร์ มาตั้งแต่สมัยเด็กอาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางพระซึ่งในสมัยนั้นมีพระคุณเจ้าที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบางพระมีความเก่งกาจมีความเชี่ยวชาญในสายไสยศาสตร์ หลายองค์ เด็กชายเปิ่นจึงเข้าออกเพื่อความอยากรู้อยากใฝ่หา ในวิชาอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ


ในช่วงนี้เองบิดาซึ่งเห็นแววของเด็กชายเปิ่นมาตั้งแต่เล็กๆ ว่ามีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวและมีสัจจะเป็นยอด จึงได้ถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งวิทยาการ คาถาอาคมที่บิดาพอมีอยู่ให้กับเด็กชายเปิ่น ถือเป็นรากฐานเบื้องต้นตั้งแต่บัดนั้น ครั้นต่อมาครอบครัวย้ายไปตั้งรกรากทำมาหากินที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่นี่เองที่เด็กชายเปิ่นได้ฉายความเป็นนักเลงจริง เป็นคนจริงให้เห็น เพราะการอยู่ในดงนักเลงที่เป็นคนจริง จะต้องเป็นคนจริงไปด้วยโดยปริยาย



เมื่อถึงจุดนี้ผู้ชายไทยใจนักเลงทุกคนจึงต้องหาอาจารย์ศึกษาในทางด้านไสยเวทเพื่อไว้ป้องกันตัวเองบ้าง เพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีให้แก่ตนเองบ้าง เด็กชายเปิ่นจึงต้องขวนขวายหาครูบาอาจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคม เพื่อศึกษาหาวิชามาไว้ป้องกันตัวเอง ได้เวทมนตร์คาถาเอามาท่องจำเป็นอย่างนี้อยู่ตลอด จนกระทั่งได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง แห่งวัดทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ศิษย์เอกของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระคุณเจ้าเก่งพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะเก่งกล้าเป็นอย่างมากทางด้านกัมมัฏฐานและไสยเวท นี่เองคือจุดเริ่มความเก่งกาจของเด็กชายเปิ่น ในเวลานั้นหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก ท่านเสมือนจะทราบว่า เด็กชายเปิ่นคนนี้มีแววแห่งผู้ขมังเวทย์อย่างแน่นอน อีกทั้งจิตอันใสบริสุทธิ์สะอาด ผนวกกับเป็นคนจริง ท่านจึงได้ถ่ายทอดในสายวิชาของท่านพร้อมวิชาไสยเวทต่าง ๆ ให้กับเด็กชายเปิ่นทุกอย่างที่สอนได้ ด้วยความที่ตนเองใฝ่หาทางนี้โดยตรง ความรู้ที่หลวงพ่อแดงมอบให้ เด็กชายเปิ่นได้รับไว้อย่างมากมาย ที่สำคัญในช่วงนั้นนั่นเองที่เด็กชายเปิ่นเติบโตขึ้นเป็นนายเปิ่นแล้วได้พบเจอกับเพื่อนที่มีความอยากรู้ อยากเรียน อยากทราบในสายไสยเวทเหมือนกัน จึงเป็นที่ถูกคอกันยิ่งนัก ซึ่งต่อมาเพื่อนคนนี้ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนานามว่า "หลวงพ่อจำปา" (มรณภาพแล้ว) เจ้าอาวาสวัดประดู่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย


นายเปิ่น ศึกษาวิชากับหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอกอยู่จนถึงเวลาที่ครอบครัวย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิมคือตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมอีกครั้ง ซึ่งพอดีถึงเวลาอายุครบเกณฑ์ทหาร ในสมัยนั้นการเกณฑ์ทหารแบ่งออกเป็นสองอย่าง คือทหารประจำการ กับทหารโยธา การเข้าเกณฑ์ทหารในครั้งนั้น นายเปิ่นได้ถูกคัดเลือกให้เป็นทหารโยธา ผลัดที่ ๒ แต่นายเปิ่นก็ไม่ได้เป็นทหารรับใช้ชาติ เพราะทางการประกาศยุบเลิกทหารโยธาเสียก่อน จึงต้องช่วยพ่อแม่ทำนาเรื่อยมา สมัยนี้เองที่นายเปิ่นได้รับการถ่ายทอดวิชาสักยันต์อันเกรียงไกร จากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระ



หลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต หากเทียบกันในเรื่องไสยเวทคาถา จัดได้ว่าไม่เป็นสองรองใคร เพียงแค่ท่านเพ่งกระแสจิตเท่านั้น แม้จะมีอันตรายใด ๆ ก็ตามไม่สามารถกล้ำกรายเข้ามาได้ อีกทั้งเรื่องยาสมุนไพรรักษาโรค ที่อื่นหมดทางที่จะรักษาให้หายได้ แต่เมื่อได้มากราบนมัสการขอความเมตตาจากท่าน ท่านจะปรุงยาให้ไปต้มรับประทาน ก็หายได้เหมือนปาฏิหาริย์ คาถาอาคมต่างๆ ตลอดยาสมุนไพร ที่หลวงพ่อท่านรักและเมตตาศิษย์คนนี้เป็นพิเศษ วิชาการต่าง ๆ ท่านจึงถ่ายทอดให้โดยไม่ปิดบัง


เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นเพราะในช่วงที่เป็นหนุ่มแน่นนายเปิ่นเข้าออกวัดบางพระทุกครั้งขณะที่ว่างจากงาน ใกล้ชิดกับวัดมากและดีที่สุดจนเมื่อถึงเวลาหนึ่งซึ่งนายเปิ่นคิดไปว่าควรจะบวชเรียนเพื่อศึกษาในสายวิชาที่ได้ศึกษามานั้นอย่างจริงจัง ซึ่งวิชาดังกล่าวจะให้ได้ผลอย่างจริงจังจิตใจจะต้องนิ่งสงบไม่มีทางใดดีกว่านอกจากบวชเรียนเท่านั้น จึงขออนุญาตคุณพ่อและคุณแม่ว่าอยากจะบวช ซึ่งทั้งสองท่านต่างก็มีความยินดีมีความปลื้มอกปลื้มใจที่ลูกมีจิตศรัทธาจะบวชเรียนในพระพุทธศาสนานอกจากจะได้รับอานิสงส์จากการบวชของลูกแล้วก็ยังเป็นการ  ที่ลูกจะตอบแทนพระคุณตามโบราณกาลที่ถือเนื่องกันมาโดยลำดับ

ดังนั้นวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน จึงเข้าสู่บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

บรรพชา วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ณ พัทธสีมาวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์



อุปสมบทวันศุกร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน ณ พัทธสีมาวัดบางพระตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

เจ้าอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์


พระอาจารย์ทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตฺธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้นามว่า "พระฐิตคุโณ"

เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ตามหน้าที่ของพระนวกะ ว่างจากงานก็ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านชราภาพมากแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ จากท่านด้วย ท่านก็ได้ให้ความเมตตาอนุเคราะห์สงเคราะห์ให้ด้วยดี ที่สำคัญของพระปฏิบัติก็คือกัมมัฎฐาน จิตใจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด เวทมนต์คาถาจะขลังหรือศักดิ์ก็เพราะจิต ด้วยเหตุดังกล่าวหลวงพ่อจึงเน้นการปฏิบัตินี้มาก และได้ฝึกหัดให้ชำนาญ ยิ่งกว่านั้นท่านยังได้รับถ่ายทอด อักขระโบราณ เป็นรูปแบบยันต์ต่าง ๆ การลงอาคมคาถา ตามทางเดินของสายพระเวทย์ กล่าวกันว่าอักขระที่หลวงพ่อเปิ่นลงหรือเขียนนั้น สวยงามมีเสน่ห์เป็นยิ่งนัก ในช่วง ๔ ปีกว่า ที่อยู่รับใช้ และเล่าเรียนวิชาอาคมต่าง ๆ จากหลวงพ่อหิ่ม ก็รู้สึกภูมิใจมากที่ไม่เสียทีได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาทำให้รู้และเข้าใจในวิชาการต่างๆ และอยู่ปรนนิบัติจนถึงกาลที่หลวงพ่อหิ่มละสังขาร (มรณภาพ) ซึ่งนับเป็นศิษย์องค์สุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติหลวงพ่อ


อย่างไรก็ดี การศึกษาเล่าเรียนใด ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แม้นได้รับจากหลวงพ่อหิ่มมาก็ยังไม่อิ่มในรสแห่งพระธรรม เสร็จจากงานฌาปนกิจศพของหลวงพ่อหิ่มแล้ว ก็ตั้งใจจะแสวงสัจจะธรรมต่อไปอีก จึงเข้าไปกราบลาหลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน์ พระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธมฺโม พระอนุสาวนาจารย์ เพื่อเดินธุดงค์วัตรแสวงหาธรรมเพิ่มต่อไป พระอาจารย์ทั้งสองต่าง ก็พลอยยินดีและอนุโมทนาในการที่จะปฏิบัติธรรมเพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เมื่อได้รับอนุญาตจากอาจารย์ทั้งสองแล้ว ได้ทราบข่าวกิตติศัพท์เล่าลือว่าที่ "วัดบางมด"เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร "หลวงพ่อโอภาสี" (พระมหาชวน) ได้อบรมแนะนำสั่งสอนพระกัมมัฎฐาน ได้มีผู้สนใจเข้าไปสมัครเป็นศิษย์กันมาก หลวงพ่อจึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ จะเป็นด้วยบุญบารมีที่เคยได้ร่วมกันมาแต่อดีตหรืออย่างไรไม่ทราบ หลวงพ่อโอภาสี เมื่อได้ทราบเจตนาดังนั้น ยินดีต้อนรับและสั่งให้พระจัดสถานที่ให้

ธรรมมะที่ หลวงพ่อโอภาสี แนะนำสั่งสอน ท่านจะเน้นให้ตัดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ปล่อยวาง อย่ายึดถือ โดยเฉพาะศัตรูสำคัญคือขันธ์ ๕ ให้พิจารณาแยกออกเป็นธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นแจ้งชัด ละอุปาทานที่มีอยู่ เมื่อพิจารณาเห็นจริงดังกล่าวแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่มีอยู่จะเบาบางไป สัจจะคือความจริง ได้แก่อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ และอนัตตา ความไม่มีตัวตนก็จะปรากฏขึ้น ได้อยู่ศึกษาและปฏิบัติกับหลวงพ่อโอภาสี ท่านได้เล่าประสพการณ์ต่าง ๆ ที่ท่านได้ผจญมา และบอกว่ายังมีอาจารย์เก่ง ๆ และดี ๆ อีกเยอะ ในเมืองไทยได้อยู่รับใช้และศึกษาปฏิบัติกับหลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลา ๑ ปีเศษก็กราบลาเพื่อออกธุดงค์วัตรต่อไป

เมื่อกราบลา หลวงพ่อโอภาสี จุดหมายปลายทางจะไปทางภาคเหนือก่อน เพราะได้ยินกิตติศัพท์ว่า ทางภาคเหนือของประเทศไทยนี้ มีพระอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นจำนวนมาก ความไม่อิ่มในธรรม และใคร่จะได้ศึกษาปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ ขึ้น พบอาจารย์ที่ไหน ก็จะเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาธรรมจากท่าน เจริญสมณะธรรม อาศัยอยู่ในป่า ตามถ้ำ ตามหุบเขาต่าง ๆ สิ่งแรกที่ได้รับคือ ความกลัวหมดไป ประการที่สอง ได้กายวิเวก ประการที่สาม จิตวิเวกจะเกิดขึ้นผลที่สุดนิรามิสสุขก็จะตามมา

สถานที่ออกเดินธุดงค์วัตรอาทิเช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ได้ท่องเที่ยวเจริญสมณธรรมทางภาคเหนือเป็นเวลา ๒ ปีเศษก็คิดอยากจะเดินทางลงทางใต้บ้าง
ทางภาคใต้มีภูมิประเทศ อากาศและธรรมชาติสวยงาม ร่มรื่นเย็นสบายดีมาก ทิวทัศน์ชายทะเล ป่าเขาลำเนาไพรไม่แพ้ทางภาคเหนือ ได้เดินทางไปพักและเจริญสมณะธรรมตามที่ต่าง ๆ มีปัตตานี ยะลา นราธิวาส และย้อนกลับขึ้นมาที่สุราษฎร์ธานี ได้กราบนมัสการ "หลวงพ่อพุทธทาส"แห่งสวนโมกข์ และ "หลวงพ่อสงฆ์" วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

เมื่อเดินทางจากภาคใต้แล้ว ก็ใคร่อยากจะเดินทางไปทางทิศตะวันตก จุดหมายปลายทางคือจังหวัดกาญจนบุรี ตามกิตติศัพท์เล่าลือ ณ สถานที่นี้มีผู้แสวงหาสัจจะธรรม และความวิเวก และอาจารย์เก่ง ๆ ก็มีมาก ถ้าโอกาสดีอาจจะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสพการณ์ได้ไม่มากก็น้อย

ช่วงนี้นี่เองที่ชีวประวัติ"หลวงพ่อเปิ่น"ได้หายไป ทราบเพียงว่าท่านได้จาริกธุดงค์ข้ามขุนเขาตะนาวศรี เข้าสู่เมืองมะริด เข้าสู่บ้องตี้เซซาโว่เกริงกาเวีย ซึ่งป่าแถบนั้นเป็นป่าที่ซ่อนอาถรรพ์ลี้ลับนานาประการเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์ อันตรายจากสิ่งลี้ลับมนต์ดำแห่งป่า สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้หลวงพ่อเกิดความหวาดกลัวแต่ประการใด ตรงกันข้ามท่านกลับมุ่งความตั้งใจจะเข้าสู่แดนลี้ลับนี้ให้ได้

ณ ป่านี้นี่เองที่พระธุดงค์วัตรหายไปอย่างลึกลับ มีมามากแล้วจะเป็นด้วยไข้ป่า ผีป่า นางไม้ วิญญาณร้ายต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือสัตว์ร้ายนานาชนิด โดยเฉพาะ "เสือสมิง"

ที่แห่งนี้จะมีตำนานเล่าขานกันมาตั้งแต่บรรพกาลของเสือร้ายที่สามารถกลับแปลงร่างเป็นมนุษย์ หรือมนุษย์ที่ศึกษาวิชาทางด้านนี้ จนสามารถกลับกลายร่างของตนเองเป็นเสือสมิงไป และไม่ได้กลับร่างเป็นคนได้อีก เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ในสายวิชาเร้นลับวิชาหนึ่ง


ในส่วนหลวงพ่อเปิ่นท่านไม่ได้ประหวั่นพรั่นพรึงในส่วนนี้เลยแม้แต่น้อย จะเป็นด้วยเพื่อจะทดลองวิชาที่ได้เล่าเรียนมาว่าจะขลังหรือศักดิ์สิทธิ์จริงหรือไม่ จิตของท่านสงบนิ่งไม่ได้กลัวอะไรเลยแม้แต่น้อย


ช่วงนี้ข่าวคราวของท่านเงียบหายไปอย่างสนิท มีเพียงจากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าเจอท่านบ้าง ชาวเขา ชาวป่า พวกกะเหรี่ยง บอกว่าเจอท่าน และท่านได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวป่าชาวเขาเหล่านี้

กระทั่งปลายปี พ.ศ.๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยเกือบสี่สิบมาปักกลดอยู่ชายทุ่ง ใกล้กับวัดทุ่งนางหรอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาพระเวท ทั้งยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเกิดศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระธุดงค์รูปนี้ "หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ " คือองค์พระธุดงค์องค์นั้น

ประจวบกับวัดทุ่งนางหลอก ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีเจ้าอาวาสมีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่สองสามรูป จนจะกลายเป็นวัดร้างอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ที่จะช่วยพัฒนาวัดทุ่งนาวัดนางหลอกให้กลับมาคืนมาอีกครั้ง คือองค์พระธุดงค์องค์นี้ จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อให้ช่วยพัฒนาวัดและเสนาสนะต่างๆ ให้ดีขึ้นเหมือนเดิมและให้หลวงพ่ออยู่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เป็นที่พึ่งทางใจของพวกเขาต่อไป


ด้วยความเมตตาธรรม และเห็นว่าพอจะช่วยได้ หลวงพ่อจึงรับนิมนต์จะช่วยเป็นผู้นำให้ ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านทั้งหลายที่มีความเดือดร้อน เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ และพระคาถาอาคมต่าง ๆ ที่จำเป็น ชาวบ้านทั้งหลายต่างมีความชื่นชมศรัทธาเลื่อมใสท่านมากยิ่งขึ้น

เพียงระยะเวลาไม่นานที่หลวงพ่อมาสงเคราะห์ การกระทำและการพัฒนาวัดต่างก็ได้ให้ความร่วมมือสามัคคีดีมาก งานยากก็กลายเป็นงานง่าย เมื่อต่างก็ร่วมมือและมีความสามัคคีกันเช่นนี้ ในการพัฒนาวัดก็เจริญรุ่งเรืองไปอย่างรวดเร็ว แปลกหูแปลกตาทันตาเห็น เปรียบเหมือนเทวดามาโปรด จึงทำให้ชื่อเสียง"หลวงพ่อเปิ่น"เป็นที่เล่าลือของชาวบ้านกว้างขวางออกไป จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ประจวบกับจริยาวัตรอันงดงามของท่าน มีวิชาแพทย์แผนโบราณ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับทุกคนที่มีความเดือดร้อน รวมทั้งมีวิชาอาคมที่เป็นเลิศ ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี วัดทุ่งนางหรอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในช่วงดังกล่าว ท่านเกิดป่วยกระทันหัน จำเป็นต้องเข้ามารักษาตัวในเมือง ท่านจึงได้กลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งใจไว้ว่าเมื่อหายป่วยดีแล้วก็จะกลับไปพัฒนาส่วนอื่นที่จะต้องทำอีกต่อไป

สู่วัดโคกเขมา เมื่อหายป่วยดีแล้ว ก็ตั้งใจจะกราบลาพระอาจารย์เพื่อเดินทางกลับไป ประจวบเหมาะกับที่ชาวบ้านวัดโคกเขมา มาขอพระจากพระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธัมโม ไปเป็นเจ้าอาวาสเพื่อพัฒนาวัด

พระอาจารย์เปลี่ยน ท่านได้บอกชาวบ้านโคกเขมาว่า ดีแล้ว ศิษย์ของฉันเขาไปธุดงค์ เผอิญไม่สบายกลับมารักษาตัว หายดีแล้ว ก็จะกลับไปพัฒนาวัดทุ่งนางหรอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรีอีก ฉันเองก็ไม่อยากจะให้เขาไปไกล คิดถึงเขา ฉันจะให้เขาไปช่วยพัฒนาวัดโคกเขมาให้รับรองว่าไม่ผิดหวัง ศิษย์โปรดของ"หลวงพ่อหิ่ม" ชาวบ้านเมื่อได้ทราบเช่นนั้น พากันปลื้มอกปลื้มใจไม่ผิดหวังแน่นอน กิตติศัพท์"หลวงพ่อหิ่ม"ก็เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว ว่าแน่แค่ไหน จึงกราบอาราธนาให้ท่านไปช่วยสงเคราะห์พัฒนาด้วย ท่านก็ยินดีรับด้วยความเต็มใจ เพื่อฉลองพระคุณของพระอาจารย์ที่ได้ช่วยเหลือมาตลอด

คณะสงฆ์ในตำบลแหลมบัว ออกประกาศและแต่งตั้งให้ "หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ" เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๙ และนี่เป็นจุดแห่งบุญญาบารมีและชื่อเสียงของ"หลวงพ่อเปิ่น"

เมื่อเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา หลวงพ่อได้เริ่มพัฒนาวัด ก่อสร้างเสนาสนะ ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เกิดด้วยแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ "หลวงพ่อ" ในเวลานั้น และที่วัดโคกเขมานี่เอง "หลวงพ่อ" ได้สร้างพระเครื่องเป็นครั้งแรก ปัจจุบันพระเครื่องรุ่นนี้ของวัดโคกเขมาหายากมาก เพราะเป็นพระเครื่องที่มีประสบการณ์ สร้างอภินิหาริย์ให้ผู้เช่าบูชาได้ประจักษ์ หลังจากรุ่นรูปหล่อเนื้อทองแดงของท่านแล้ว พระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ จากวัดโคกเขมาจึงออกมาอีก เพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปได้เช่าหาบูชากัน เพื่อนำเงินบำรุงพัฒนาวัด

ที่วัดโคกเขมา หลวงพ่อออกพระเครื่องทั้งเนื้อผง(สมเด็จ) ทั้งรูปหล่อ ทั้งเหรียญพระบูชา(พระสังกัจจายน์) ทุกอย่างทุกองค์ที่หลวงพ่อสร้างมีค่ายิ่งสำหรับชาวบ้านที่รับไป ทางด้านการปฏิบัติธรรม ทางด้านไสยศาสตร์ หลวงพ่อถือเคร่งในวัตรปฏิบัติจนเป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้ที่มากราบไหว้พบเห็น และนั่นเองเป็นสาเหตุที่ทำให้ชื่อหลวงพ่อขจรไกลไปทั่วแคว้น จึงไม่แปลกใจเลยว่า ที่กุฏิหลวงพ่อมีศิษยานุศิษย์มากันเนืองแน่นโดยไม่ขาดสาย

อีกอย่างที่กล่าวขานกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น จวบจนปัจจุบันตั้งแต่วัดโคกเขมาเป็นต้นมา นั้นคือ "การสักยันต์" แน่ละหากกล่าวถึง "หลวงพ่อเปิ่น"ในหมู่ของชายฉกรรจ์ ตั้งแต่อดีตมา หากเป็นสมัยท่านแล้วละก็ ก็ต้องยกนิ้วให้กับหลวงพ่อ ในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถาที่ส่งลงสู่ร่างกายของชายชาตินักสู้ในรูปแบบเฉพาะของท่านเอง ทุกอย่างสมบูรณ์เพียบพร้อมถึงขนาดลงข่าวที่ว่าแม้สิ้นชีพไปแล้ว มีดผ่าตัดยังไม่สามารถเฉือนเนื้อลงได้เลย

หลวงพ่อในสมัยที่ท่านยังมิได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ หลวงพ่อท่านลงมือสักลงอักขระเวทด้วยองค์ท่านเอง มาภายหลังหลวงพ่อได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการสักให้แก่ศิษย์เป็นองค์สักแทน แล้วหลวงพ่อเพียงทำพิธีครอบให้เท่านั้น



เรื่องการสักของหลวงพ่อกล่าวเพียงบทสรุป ว่าชอบ เสือ ด้วยเหตุผลที่บอกเพียงสั้น ๆ แก่ศานุศิษย์ว่า เสือเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ เพียงเสียงคำรามของเสือ สัตว์ทั้งหลายก็สงบเงียบ กลิ่นของเสือ สัตว์ทั้งหลายเมื่อรับสัมผัสจะยอมในทันที หลีกทันก็ต้องหลีก จัดอยู่ในมหาอำนาจ เสือรูปร่างสง่างาม เต็มไปด้วยอำนาจบารมี จัดอยู่ในมหานิยม ที่สำคัญ"หลวงพ่อ" เคยประจันหน้ากับเสือมาแล้ว กลางป่าลึก ระหว่างธุดงค์วัตรแถวป่าใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี จึงเกิดความประทับใจตั้งแต่นั้นมา



ช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อันเป็นเวลาที่เจริญรุดหน้าขึ้นอย่างสูง



ในส่วนของวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต มรณภาพลงและหลวงพ่อเปิ่นออกจาริกแสวงธรรม ทางวัดบางพระเงียบเหงาลง ต่อมา"หลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน์" พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่นได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่หิ่ม จนมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๕๑๖ เจ้าอาวาสวัดบางพระ จึงว่างลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกัน ไปกราบอาราธนาหลวงพ่อเปิ่นให้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ซึ่งในตอนแรกหลวงพ่อไม่ยอมมาด้วยสาเหตุว่าไม่มีใครดูแลวัดโคกเขมา ซึ่งเป็นเหมือนกับวัดที่ท่านสร้างขึ้นมาใหม่ ภาระและความรับผิดชอบยังอยู่ที่ท่าน



ในส่วนของญาติโยมชาวโคกเขมานั้น เคารพรักให้ลวงพ่อเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเทียบเสมือนว่าตัวท่านเป็น น้ำทิพชะโลมใจ ท่านเป็นศูนย์รวมพลังศรัทธา เป็นพระนักพัฒนาที่สร้างแต่ความเจริญรุ่งเรือง



ญาติโยมฝ่ายวัดบางพระ ก็ไม่ได้สิ้นความพยายาม เพียรกราบอาราธนาให้ท่านกลับมาพัฒนาวัดบ้านเกิดของท่านเอง ให้กลับคืนเหมือนเดิม เพราะชาวบ้านทั้งหลายได้ร่วมพิจารณากันแล้วนอกจากท่านแล้วไม่มีใครที่จะทำให้วัดกลับมาเป็นดังเดิมได้ วัดบางพระมีแต่จะทรุดลงไปเรื่อย ๆ ผลที่สุดท่านก็ยอมที่จะมา แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหาพระมาดูแลวัดโคกเขมาให้ได้ก่อน ท่านจึงจะยอมกลับวัดบางพระ



ในครั้งนั้น กล่าวกันว่าชาววัดโคกเขมา เมื่อทราบว่าหลวงพ่อท่านจะต้องกลับไปพัฒนาวัดบางพระซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน เสียดายก็เสียดายทำอย่างไรได้เมื่อเหตุมันเกิดก็ต้องยอมแต่ยังอุ่นใจอยู่ว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นไปกราบปรึกษาหารือท่าน ก็คิดว่าจะได้รับคำแนะนำที่ดีมีประโยชน์ บางทีท่านอาจจะลงมือมาช่วยได้อีก



ในที่สุดหลวงพ่อ ท่านก็กลับมาพัฒนาวัดบางพระ สมเจตนาของชาวบ้าน นั่นคือการจบชีวิตการธุดงค์ของหลวงพ่อเปิ่น



ถนนแห่งชายฉกรรจ์ผู้มีเลือดนักสู้ในหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือ ผู้ที่ทำงานเสี่ยงกับอันตรายนานาประการ ต่างก็มุ่งตรงยังวัดบางพระ เพื่อนำวัตถุมงคลที่หลวงพ่อประสิทธิ์ประสาทไว้กับตัวเอง ด้วยเหตุนี้เอง เท่ากับเป็นการนำพาความเจริญทั้งหลายมาสู่ถิ่นตามลำดับจนถึงปัจจุบัน



หลวงพ่อเข้ารับภาระในวัดบางพระเวลานั้น นับเนื่องแล้วเป็นการพัฒนาที่หนักเอาการ ก่อนอื่นจัดระเบียบของวัดให้เข้าที่เข้าทางเสียก่อน ได้แก่การจัดเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสให้อยู่เป็นสัดส่วน เพราะเท่าที่เป็นอยู่ในเวลานั่น เขตพุทธาวาสและสังฆาวาสยังคละเคล้าปะปนกันอยู่ ไม่เป็นที่เจริญตาเจริญใจแก่ผู้มาพบเห็น



หลังจากได้วางโครงการเรียบร้อยแล้ว ให้เอาเขตสังฆาวาสทั้งหมดไปรวมอยู่ทางด้านหลัง ส่วนข้างหน้าให้เป็นเขตพุทธาวาสได้แก่โบสถ์ ศาลาการเปรียญ มณฑปพระพุทธบาท มณฑปบูรพาจารย์ ฯลฯ เป็นต้น




ในวันที่ ๒๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๐๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ จึงแต่งตั้งให้ พระใบฎีกาเปิ่น ฉายา ฐิตคุโณ อายุ ๕๓ พรรษา ๒๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ โดยมี เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ประทับตราประจำตำแหน่ง



หลังจากได้วางโครงการแยกแยะส่วนต่างๆ แล้ว หลวงพ่อได้ย้ายและสร้างกุฏิสงฆ์ เพื่อให้พอกับพระที่อยู่จำพรรษา และพัฒนาวัดมาโดยตลอดอย่างไม่หยุดยั้ง



ด้วยการพัฒนาวัด และพร้อมด้วยจริยาวัตรอันงดงาม ปลูกศรัทธาปสาทะของผู้พบเห็น บำเพ็ญในสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างสูง และด้วยการที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ทางคณะสงฆ์และทางราชการเห็นความสำคัญ จึงได้ประกาศเกียรติคุณความดีให้ปรากฏเป็นอนุสรณ์ตลอดมา



ในวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ให้พระฎีกาเปิ่น วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม เป็น "พระครูฐาปนกิจสุนทร"



ช่วงนี้นี้เองที่วัดมีการออกพระเครื่องและวัตถุมงคล เพื่อทดแทนในน้ำใจแห่งศรัทธาที่ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านได้ร่วมกันในการพัฒนาวัดบางพระนั่นเองฯ



ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลวงพ่อท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์จาก พระครูฐาปนกิจสุนทร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เป็น "พระอุดมประชานาถ"



ด้วยการพัฒนาวัดและชุมชนมาโดยตลอด ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ถวายปริญญาบัตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ แก่องค์หลวงพ่อ แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อได้เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ของประชาชนโดยแท้ ท่านไม่ทิ้งธุระทางการศึกษา พัฒนาสาธารณะประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาไว้มากเพื่อเป็นแนวทางแก่พระภิกษุ - สามเณรในพระพุทธศาสนา



หลวงพ่อท่านได้มองถึงประโยชน์ของการศึกษาถึงวัฒนธรรมความเจริญของท้องถิ่นแห่งนี้เมื่อสมัยก่อน ในการที่จะพัฒนาบุคคลให้มีความรู้คู่คุณธรรมและมีจิตสำนึกรักภูมิลำเนาของตนโดยที่ท่านได้วางการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ตั้งใจจะสร้างไว้นานแล้ว เพื่อเป็นที่รวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้าน และของเก่าแก่ของแถบลุ่มน้ำนครชัยศรี บริเวณตำบลบางแก้วฟ้านี้ ที่เมื่อครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งที่มีการติดต่อค้าขายกัน มีชาวบ้านอยู่มากมาย เป็นแหล่งรวมสรพวิชาความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถดูได้จากโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย เรือสำเภาโบราณที่มีเจดีย์เล็ก ๆ บนเรือนั้น ส่วนวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสายพระเวทคาถา ท่านเองได้ศึกษามามากจากหลวงปู่หิ่ม (พระอุปัชฌาย์) หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อแดงวัดทุ่งคอก หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นต้น และออกฝึกปฏิบัติทางจิตตามแนวทางในพระพุทธศาสนาเพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจิตของตน โดยปฏิบัติธุดงค์วัตรในสถานที่ต่าง ๆ ท่านเองเป็นตัวอย่างของพระนักศึกษาทั้งทางรูปธรรม และนามธรรมอย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งสามารถนำวิชาความรู้ต่าง ๆ มาช่วยเหลือชี้นำแนวทางและพัฒนาจิตใจแก่พุทธศาสนิกชนได้ หลวงพ่อเองเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเมตตาต่อผู้ที่มาหาท่าน รวมถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณวัดบางพระ



หลวงพ่อได้ฝากปริศนาธรรมต่างๆ โดยการปฏิบัติ และสร้างสิ่งต่างๆ ให้เห็นทั้งรูปธรรม - นามธรรม หลายต่อหลายอย่างซึ่งปรากฏแก่ผู้ที่ใกล้ชิดท่าน อันพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งได้ระลึกเสมอว่าสังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาได้ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ตามพระวาจาที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ครั้งสุดท้าย หลวงพ่อมีศีล และจริยวัตรอันงดงาม ในขณะที่ธาตุสี่ ขันธ์ห้ายังประชุมอยู่ ถือได้ว่าเป็นพระแท้ที่หาได้ยากในยุคนี้



ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๑๐.๕๕ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช หลวงพ่อได้ละสังขารด้วยอายุ ๗๙ ปี ๕๔ พรรษา ยังความอาลัย เศร้าโศก เสียใจแก่ปุถุชนจิต แต่ได้แสดงให้เห็นถึงมรณัสสติแก่ศิษยานุศิษย์ คุณงามความดีที่ท่านได้กระทำไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย จะเป็นตำนานแห่งแผ่นดินไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม เป็นเครื่องเตือนสติให้พุทธศาสนิกชนได้รู้จักและปฏิบัติสืบสานกันต่อไป.

ประวัติหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม

ประวัติวัดศรีษะทอง จ.นครปฐม


วัดศรีษะทองสร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในขณะที่มีการขุดดินสำหรับสร้างวัด ได้พบเศียรพระทองจมอยู่ในดิน จึงถือเป็นนิมิตที่ดี เลยได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดหัวทอง” ตั้งแต่นั้นมา เจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงพ่อไต เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็กๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ สืบทอดเจ้าอาวาสมาอีก 6 รุ่นจนมาถึง สมัยหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์


ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ต่อมาทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชา แยกจากแม่น้ำนครชัยศรี ไปยังองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อสะดวกในการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ คลองนี้ผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของวัดหัวทองและหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงอพยพมาอยู่ใกล้คลองเพราะสะดวกในการคมนาคม วัดนี้จึงย้ายจากที่เดิมมาอยู่ใกล้คลองเจดีย์บูชาและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศีรษะทอง” ต่อมาทางราชการได้ยกขึ้นเป็นตำบลศีรษะทองสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ที่วัดศีรษะทองนี้มีประชาชนเป็นจำนวนมากที่นับถือ และนิยมมานมัสการพระราหู ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดศีรษะทองนี้ เพื่อความเป็นศิริมงคล


หลวงพ่อน้อยมีนามเดินว่า "น้อย นาวารัตน์" เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ ปีมะโรง )ที่บ้านตำบลศรีษะทองในปัจจุบัน) บิดาชื่อนายมาและมารดาชื่อนางมี นาวารัตน์ หลวงพ่อน้อยมีพี่น้องทั้งหมด 5 คน หลวงพ่อน้อยท่านเป็นน้องคนสุดท้อง โยมบิดาของหลวงพ่อน้อยเป็นหมอ รักษาโรคแบบแผนโบราณและเป็นหมอไสยศาสตร์ที่เก่งกล้าทางอาคม ชาวบ้านเรียกกันว่า "พ่อหมอ" อยู่ยงคงกระพันขนาดเอามีดคมๆ สับเนื้อหนังตนเองให้ดูได้สบายไม่ระคายเคืองผิวหนังเลย ในสมัยที่ยังเป็นหนุ่มท่านเคยสู้กับนักเลงต่างบางถึงขั้นถูกรุม "พ่อหมอ" คนเดียว "พ่อหมอ" ยังไล่ฟันพวกนักเลงต่างบางด้วยดาบยับเยินไปทุกคน ขึ้นชื่อว่า "พ่อหมอ" นักเลงรุ่นนั้นเป็นส่ายหน้าหนีจนเป็นที่เลื่อมใสของคนลาวโดยทั่วไป



ในสมัยที่หลวงพ่อน้อยยังอยู่ในเพศฆราวาสนั้นกล่าวกันว่าท่านเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็งเป็นอันมาก ช่วยโยมมารดาทำนาปลูกผักอยู่เป็นประจำครั้นว่างจากงานก็ศึกษาอักขระเลขยันต์คาถาอาคมไสยศาสตร์ ตลอดจนตำรับยาจากโยมบิดาจนเจนจบครั้งเมื่อท่านอายุได้ 21 ปี เป็นนิมิตหมายที่ดีในวันพฤหัสบดีขึ้น 12 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2456 ท่านก็ได้บวชเข้าสู่ร่มบวรพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่ที่มีอยู่เป็นนิสัย



โดยมีพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแคเป็นพระอุปฌาจารย์, พระอธิการเกิด วัดงิ้วรายเป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า "คนธโชโต" จำพรรษาอยู่ที่วัดแคอยู่ระยะหนึ่งจึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีษะทอง ในระยะนั้นหลวงพ่อลีเป็น เจ้าอาวาสอยู่และท่านก็ได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อไตรเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีษะทอง เช่น วิชาการสร้างวัวธนูและราหูอมจันทร์ เป็นต้น



เมื่อหลวงพ่อน้อยได้มีพรรษาที่สูงขึ้นก็พอดีกับพระอธิการช้อยซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ครองวัดต่อจากหลวงพ่อลีได้ลาสิขาไป บรรดาญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาจึงได้นิมนต์หลวงพ่อน้อยขึ้นเป็นเจ้าอาวาสท่านได้ปฏิบัติตนตามสมควร ให้สมกับเจตนาของญาติโยมและพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก และต่อมาท่านก็ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลปกครองวัดในเขตตำบลของท่านเป็นตำแหน่งสุดท้าย

ประวัติโดยย่อ อาจารย์สันสกฤต จ.กาญจนบุรี (ขุนแผนเมืองกาญ)

ประวัติโดยย่อ อาจารย์สันษกฤต จ.กาญจนบุรี (ขุนแผนเมืองกาญ)




อาจารย์สันสกฤต เป็นอาจารย์ฆราวาสผู้ชื่นชอบในวิชาการทางไสยศาสตร์ต่างๆมากมายหลายแขนง ท่านเป็นศิษย์หลายสาย ทั้งเหนือและอีสาน เป็นผุ้ที่เรียนรู้อักขระคาถาต่างๆอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังนำไปสอนต่อและชี้แนะลูกศิษย์ให้ปฏิบัติเห็นผลจริงอย่างที่ท่านได้ทำมาแล้ว ลูกศิษย์ท่านส่วนมากเป็นชาวต่างประเทศ และท่านมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับสูงที่ประเทศมาเลเซีย อาจารย์จัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ และได้ร่วมปลุกเสกกับเกจิอาจารย์ระดับประเทศ วัตถุมงคลของอาจารย์นั้นเห็นผลจริง ใช้ได้ขมังดั่งจิตตาธิษฐานของเหล่าผู้บูชา

อาจารย์ท่านเก่งเรื่อง สร้างของ “แรง” และมวลสาร “แรง” ถ้าไม่ได้ตามตำราอาจารย์จะไม่จัดสร้างเด็ดขาด

ประวัติโดยย่อ อาจารย์เปี๊ยก วัดสว่างภพ

ประวัติโดยย่อ อาจารย์เปี๊ยก สักยันต์ (วัดสว่างภพ)

อ.เปี๊ยก คลองสี่ เป็นอาจารย์ฆรวาส ขมังเวทย์ ที่เก่งเป็นอย่างยิ่ง ในการปลุกเสก และ สักยันต์


โดยท่านได้สืบทอดสายวิชาการสักยันต์ลงอักขระต่างๆ อาจารย์หลวงพ่อ แสวง วัดสว่างภพ จ.ปทุมธานี และ รับครอบครูสักจากอาจารย์แก้ว ซึ่งเป็นศิษย์สายเดียวกับอาจารย์ชุม ไชยครีรี หลังจากสืบทอดวิชา อาจารย์เปี๊ยก็ดำเนินและฝึกฝนต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 10 ปี มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งในและต่างประเทศที่ชื่นชอบ และศรัทธาในการสักยันต์ และเช่าบูชาวัตถุมงคลจากอาจารย์


โดยเฉพาะกุมารทอง ของอาจารย์ซึ่งได้รับการยอมรับวงกว้างในสิงคโปร์และมาเลเซียถึงความเฮี๊ยนและทรงพลัง วัตถุมงคลของอาจารย์เปี๊ยก จัดสร้างในจำนวนจำกัด ตามแต่มวลสารที่จัดหาได้



อาจารย์เปิดสำนักสักยันต์ที่คลองสี่ ซอยเคหะชุมชนระพีพัฒน์ 2 ใกล้วัดสว่างภพ คลองสี่ จ.ปทุมธานี

Archan Piak (Phatthaphohg Pnatson) is a Kalawat (White Robe Archan) capable of casting spells, teaching katha, applying Yantra Tattoos (Sakyant), inserting golden tarkruts, conducting various rituals and consecrating amulets.

Archan Piak has been a practicing White Robe Archan for over 10 years and is from the Nakhon Sawan province Thailand, his main Masters includeds the fame Luang Por Sawang from Wat Sawang Pop and Archan Keow (direct disciple of Archan Choom Chaikiri and Archan Walawit).


LP Saweng on a Tiger Fur
Having spent 10 yrs in monk hood and 6 years as a Tudong monk (forest monk), Archan Piak has attained a high level of meditative powers. Being in the religious circle for such a long time Archan has also worked with the best in both the black and white arts. Thus having the knowledge and know how to banish negative energy/magic
Archan Piak is a multi talented Archan and specializes in love katha and rituals. His specialty is getting one’s old lover back, he is especially happy to see his magic work wonders on couples who have gone separate ways but because of his magic and a little understanding get back together living fulfilling lives there after. One can consult Archan on other spells they might be interested in as well.
Archan Piak ‘s amulets are also sort after (Especially his Guman Tong) and are available in very limited quantity as they are all handmade and materials used are hard to come by of course this is top secret. Widespread experiences from devotees from both Thailand and abroad provides testimony for his amulet’s and Yantra’s efficaciousness.

ประวัติโดยย่อพ่อคุณมหัธนะ ราชทรัพย์ ครูหมอเสน่ห์ The Biography of Archan Maha Tana

ประวัติโดยย่อ พ่อคุณมหัธนะ ราชทรัพย์ ครูหมอเสน่ห์

พ่อคุณมหัธนะนั้น เป็นอาจารย์ฆรวาส ด้านเสน่ห์โดยตรง อาจารย์จัดสร้างวัตถุมงคลไม่กี่ประเภท แต่ประสบการณ์ เห็นผล ได้รับการเล่าขานและยอมรับรวดเร็วในต่างประเทศ วัตถุมงคลของพ่อคุณมหัธนะนั่น ท่านจัดสร้างจากมวลสารแท้ ครบตำรา และที่สำคัญคือวัตถุมงคลของพ่อคุณมหัธนะ ผู้บูชามีประสบการณ์แปลกๆกันทุกคน แม้ว่าจะไปอยู่ไกลถึงต่างประเทศ ก็ยังสำแดงฤทธิ์เดช ให้ผู้บูชารู้สึกอัศจรรย์ใจ


พ่อคุณมหัธนะ มีวิชาลนน้ำมันพราย และมวลสารสำคัญต่างๆ ท่านได้รับความเมตตาจากเกจิ อาจารย์ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ อีกทั้งวิชาเสน่ห์ของท่าน ยังถือว่าแรงใช้ได้ดี เพราะท่านมีตำราของอาจารย์ขมังเวทย์อิสลาม ผู้มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องคู่จะใช้วัตถุมงคลของท่านได้เห็นผลเร็วมาก.

ประวัติโดยย่อ อาจารย์เหน่ง พรายทอง เจ้าตำรับนะอกแตก The Biography of Archan Neng Praithong

อาจารย์เหน่ง พรายทอง เจ้าตำรับนะอกแตกอันลือลั่น



วิชาเสน่ห์ที่อาจารย์เหน่งได้เรียนมา ที่แรงที่สุดคือ วิชานะอกแตก ที่อาจารย์เหน่งได้เรียนมาจากฝั่งลาว กับท่านครูท้าวเวียงสวรรค์ เมื่อสมัยตอนเป็นพระครั้งไปธุดงค์ อาจารย์เหน่งจึงได้จัดสร้างหัวใจนะอกแตกขึ้น พร้อมกับนางพรายเจ้าเสน่ห์ ซึ่งมีมวลสารทางด้านเสน่ห์เป็นจำนวนมาก เช่น ว่านไก่แดง เป็นต้น รวมทั้งวัตถุอาถรรพณ์ต่างๆ ตามที่ครูอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า หากผู้ใดได้เขียน หรือมีไว้ซึ่งยันต์ นะอกแตก ถ้ามีความรักใคร่ชอบพอ ชาย-หญิงใด เมื่อพบหน้าแล้ว ให้อธิษฐานฝากแม่พระพรายผูกจิตนั้น ถ้าวันไหนไม่เห็นหน้าเสมือนจะอกแตกตาย


อาจารย์เป็นที่ศรัทธากับลูกศิษย์ที่ฮ่องกง เป็นอย่างมาก แม้ว่าสำนักอาจารย์จะอยู่ไกลและลึก ลูกศิษย์ต่างประเทศก็ยังดั้นด้นมาพบ เพื่อเช่าบูชาวัตถุมงคลด้วยตนเอง