วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติโดยย่อ อาจารย์ฤๅษีสมพิศ ญาณโสภี The Biography of Archan Ruesii Sompis Yannasopi

ประวัติของอาจารย์ฤาษีสมพิศและการช่วยเหลือผู้คน


ท่านเป็นชาวเมืองลพบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านพุน้ำทิพย์ ต.หนองแขม อ.โคกสำโรง สมัยก่อนตามบ้านนอกหาโรงเรียนยาก พ่อแม่จึงนำ ด.ช สมพิศ ไปฝากเป็นศิษย์พระที่วัดพุน้ำทิพย์เพื่อร่ำเรียนหนังสือ ที่วัดพุน้ำทิพย์นี้เองมีพ่อเฒ่าอ่อนและย่าดำถือศีลเจริญภาวนา ทำกรรมฐาน-วิปัสสนา เป็นหัวเรียวหัวแรงชักชวนชาวบ้านและคนแก่ถือศีลอยู่วัด ชาวบ้านจึงนับถือท่านทั้งสองมาก อาจารย์ฤาษีสมพิศจึงได้มีโอกาสศึกษาหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี ตลอดจนคาถาอาคมต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคัมภีร์อิติปิโสรัตนมาลา โดยมีพ่อเฒ่าอ่อนและย่าดำเป็นผู้ถ่ายทอดให้ด้วยความเมตตา ต่อมาอายุได้ 14 ปี ได้เรียนวิชาธรรมขุนแผนจากอาจารย์ธรรมท่านเป็นพระธุดงค์มาจากทางอีสาน อันวิชาธรรมขุนแผนนี้เป็นวิชาที่สามารถเรียกเอาวิญญาณขุนแผนให้มาเข้าสิงในร่าง คนได้ เพื่อสอบถามเรื่องราวหรือถามเอาวิชาคาถาอาคมที่สำคัญต่างๆ ได้ พร้อมกันนั้นยังได้เรียนวิชาธรรมฤาษี อันเป็นข้อปฏิบัติของการเป็นฤาษี ผู้เรียนวิชานี้ต้องไม่ตัดผมอย่างน้อย 3 ปี มิเช่นนั้นจะเป็นบ้า ไม่เอาหลังผิงฝา พิงเสา อีก 7 ปี ไม่กินเนื้อดิบ ไม่กินเหล้า และข้อปฏิบัติอื่นๆ อีกมากมายหลายข้อจนสำเร็จ สามารถติดต่อกับอาจารย์ทางจิตได้โดยไม่ต้องพบหน้ากันเลย จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดถ้ำทอง (ปัจจุบันคือวัดถ้ำสิทธาราม) ได้รับฉายาว่า "ญาณโสภี" แปลว่าผู้มีญาณอันงดงาม หลังจากบวชได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพุน้ำทิพย์ ระหว่างอยู่จำพรรษาที่วัดพุน้ำทิพย์ประมาณปีกว่าๆ ได้มีอาจารย์ทมอยู่สิงห์บุรีมาเป็นอาคันตุกะที่วัด ได้พูดคุยกันจนถูกอัธยาศัย จึงชักชวนกันออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ทั้งทางภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง เพื่อหาเล่าเรียนวิชาจากอาจารย์ต่างๆ ซึ่งได้พบเจอระหว่างได้เรียนวิชาทางเมตตา มหานิยม และวิชาธรรมเก้าโกฐกับหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ จ.ศรีสะเกษ ศึกษาวิชาอาคมจากอาจารย์ฆราวาสอีกมากมายหลายท่านระหว่างธุดงค์ไป จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ มีทั้งอาจารย์ชาวเขมรและชาวลาว



กลับมาอยู่ลพบุรี ได้ไปธุดงค์จาริกรุกมูลกับหลวงปู่โสม ธมมปาโล ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา และเป็นลูกศิษย์หลวงตายี หลวงปู่โสมเมื่อท่านจะออกธุดงค์ท่านจะชวนพระอาจารย์สมพิศไปด้วยทุกครั้ง และท่านก็จะฝึกให้ทำให้ได้เหมือนท่าน ท่านจะพานั่งสมาธินานๆ ขนาดจุดธูปหมดไปต่างหลายเที่ยวแล้วยังไม่เลิกนั่ง จนกระทั่งคนที่มารอขอของดีต่างเข็ดขยาดไปตามๆ กัน แต่ทุกคนก็ไม่ยอมถอยหนี ยิ่งมาเยอะขึ้นเรื่อยๆ เพราะก่อนที่ท่านจะให้ของดีท่านจะพาสวดมนต์ นั่งฟังสวดมนต์นานๆ ต่อจากนั้นก็จะสอนให้นั่งสมาธินานมาก บางครั้งตี 2 ตี 3 ยังไม่เลิกก็มี แต่ทำให้ทุกคนได้ใช้ความอดทน และที่ร้อยเอ็ดได้ฝากตัวเป็นศิษย์ปู่จันทา เป็นฆราวาสจอมขมังเวทย์ สามารถภาวนาคาถาอาคม ทำให้มีแสงสว่างออกจากตัวได้เหมือนมีตะเกียงจ้าวพายุ ท่านจะเดินนำหน้ากลางป่าในเวลากลางคืนเดือนมืด ทำให้เห็นทางได้สะดวก ท่านได้เมตตาถ่ายทอดวิชามหาสาวัง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วิชาทิพย์มนต์ มีอานุภาพทางคุ้มกันภัย ทำเป็นน้ำมนต์รดหรืออาบจะขจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคล และทุกข์โศก มีความสุข ความเจริญ ต่อมาได้ธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่คำคะนิง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับครูบาอินทจักรจนท่านมรณภาพ จึงมาศึกษาเพิ่มเติมกับครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.บ้านซาง จ.ลำพูน จากนั้นจึงธุดงค์กลับไปอยู่กับครูบาธรรมชัย ที่วัดทุ่งหลวงแม่แตง จ.เชียงใหม่ อีกหนึ่งพรรษา และธุดงค์ต่อไปจนถึงแม่ฮ่องสอน ได้เรียนวิชาคุ้มกันภัย กันกระทำคุณไสย และวิชาเมตตามหานิยมจากเจ้าคณะอำเภอแม่ลาหลวง ท่านเป็นชาวไทยใหญ่ ดังนั้นคาถาอาคมต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจึงเป็นภาษาพม่า เมื่อศึกษาร่ำเรียนวิชาจนจบจึงได้กราบลาอาจารย์ ธุดงค์ต่อไปถึงเขตพม่า ได้พบผู้มีอาคมขลังคนหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกได้มีการลองวิชากันทั้งทางคงกระพันและการปล่อยคุณไสยต่างๆ มีทั้งการปล่อยวัวธนู ควายธนู ตะปู หนังวัว หนังควาย และอื่นๆ อีกสารพัด พ่อเฒ่าคนนี้อยู่คนเดียวในป่า ถือสันโดษทำตนเป็นนักพรต ปฎิบัติตนแบบฤาษี ภายหลังได้พูดคุยกันและถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ผู้เฒ่าได้เล่าประวัติความเป็นมาของท่าน ว่าท่านเป็นชาว จ.สระบุรี เมื่อได้บวชเป็นพระก็ขึ้นไปอยู่ทางอีสาน และฝั่งลาวได้เล่าเรียนอาคมสารพัดและได้เป็นลูกศิษย์สำเร็จลุน เรียนวิชาอาคมจนจบ จึงออกธุดงค์ต่อไปตามที่ต่างๆ หลายประเทศ เช่น ลาว เวียดนาม จีน พม่า อินเดีย มอญ ศรีลังกา เขมร จากนั้นจึงย้อนกลับมาอยู่แม่ฮ่องสอน ท่านเป็นผู้รู้สัมภิทาญาณ สามารถพูดได้ทุกภาษา ท่านผู้เฒ่าบอกว่าท่านชื่อศรีจันทร์ จึงเรียกท่านว่าอาจารย์จันทร์บ้าง ตาผ้าขาวจันทร์บ้าง หรือฤาษีจันทร์บ้าง ท่านเล่าว่าเหตุที่สึกจากพระและมาปฎิบัติตนแบบฤาษี เพราะว่าสบายดีและสะดวกต่อการปฏิบัติธรรม หาความสงบวิเวกในป่า ที่สำคัญท่านชอบแม่ฮ่องสอนมาก เพราะคนที่นี่ไม่มีการลักขโมยกัน ในเวลาต่อมาตาผ้าขาวจันทร์ได้ถ่ายทอดวิชา ตลอดจนเคล็ดวิชาต่างๆ ให้กับอาจารย์สมพิศ (ในขณะนั้น) จนหมดสิ้น จึงได้กราบลาตาผ้าขาวจันทร์ผู้เป็นอาจารย์ออกเดินธุดงค์ต่อไปเรื่อยจนถึงพิษณุโ ลก



ได้พบพระภิกษุจำนวนมากเดินธุดงค์อยู่ จึงได้ร่วมขบวนธุดงค์ไปด้วย โดยมีพระภิกษุชราองค์หนึ่งเป็นผู้นำในการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งพระทุกรูปจะเรียกท่านว่า ปู่ใหญ่ และจากการติดตามขบวนธุดงค์ในครั้งนี้เอง จึงทำให้ได้มีโอกาสปรนนิบัติใกล้ชิดกับปู่ใหญ่ วันหนึ่งด้วยความเมตตา ท่านจึงเรียกพระภิกษุสมพิศเข้าพบ และบอกว่าจะถ่ายทอดสุดยอดวิชาทางเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ และแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีให้อีกด้วย นับว่าเป็นบุญกุศลของพระภิกษุสมพิศอย่างมากมายนัก เพราะท่านบอกว่าไม่เคยถ่ายทอดให้ใครเลย ตั้งแต่ท่านได้ร่ำเรียนมา เป็นวิชาที่ครูบาอาจาย์เก่าแก่ท่านหวงแหนมาก แต่ด้วยที่ท่านเล็งเห็นถึงจิตใจที่มุ่งมั่นในการไขว่คว้าหาความรู้ทางคาถาอาคม และเวทย์มนต์คาถาของพระภิกษุสมพิศ ประกอบท่านคงเล็งเห็นด้วยญาณสมาบัติ ว่าพระภิกษุสมพิศเหมาะสมกับการที่จะถ่ายทอดวิชานี้ให้ ท่านจึงถ่ายทอดวิชาเทพสังวาส ให้กับพระภิกษุสมพิศโดยไม่ปิดบังอำพรางแม้แต่น้อย ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาเทพสังวาสจนจบ จึงได้กราบลาปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ต่อไปทางภาคกลาง ถึงจ.อยุธยา ได้เรียนวิชา 9 เฮ อันเป็นสุดยอดวิชาทางคงกระพันชาตรี สายหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ จากอาจารย์ฆราวาสชื่อตายืน (ตายืนผู้นี้เป็นศิษย์หลวงพ่อกลั่น) พระภิกษุสมพิศอยู่ร่ำเรียนวิชา 9 เฮ จนสำเร็จ จึงธุดงค์ต่อไปหาหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี มาถึงวัดนี้ไม่พบหลวงพ่อมุ่ยแล้ว เพราะท่านดับขันธ์ไปเสียก่อน แต่ได้ไปเรียนวิชากับโยมและพระอาจารย์วัดหนองกระเถา ศิษย์หลวงพ่อมุ่ย อยู่ 3 ปี ไปๆ มาๆ จังหวัดสุพรรณบุรีเสมอ ช่วงเวลานั้นได้มาเรียนวิชาอยู่กับหลวงปู่ช่อ วัดฤกษ์บุญมี (ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางโคนม) หลวงปู่ช่อท่านได้เมตตาถ่ายทอดวิชาการเป่ายันต์เกราะเพชร และวิชาต่างๆ อีกมากมาย เพราะไปๆ มาๆ อยู่กับหลวงปู่ช่อถึง 10 กว่าปี ท่านอาจารย์ฤาษีสมพิศ ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่หาความรู้ในวิชาอาคมอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง ทั้งเมื่อยังเป็นเพศบรรชิต รวมเวลาทั้งหมด 14 พรรษา 15 ปี ออกเดินธุดงค์ 11 พรรษา หลังจากสึกออกมาเป็นฆราวาส เมื่อปี 2532 ก็มุ่งหน้าปฏิบัติอยู่ตามป่า ตามเขา ตามถ้ำต่างๆ อีกมากมายหลายแห่ง หลายที่ หลายปี ได้เวลาพอสมควรก็จะกลับมาอยู่บ้านบ้าง กระทั่งในปี 2532 คุณไทยดำ นักเขียนอาวุโสของนิตยสารฉบับหนึ่งได้มาเชิญอาจารย์ฤาษีสมพิศไปออกงานวิทยาศาสต ร์ทางจิต ณ.สถาบันรัชต์ภาคย์ ในงานนี้มีฤาษีจากที่ต่างๆ มากมายกว่า 40 ประเทศ จุดประสงค์เพื่อให้ฤาษีแต่ละองค์ได้แสดงความสามารถทางจิต และอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ ไปตามแต่ถนัด หนึ่งในนั้นคืออาจารย์ฤาษีสมพิศได้แสดงการกินถ่านไฟแดงๆ การเททรายเข้าตาโดยที่ไม่มีอาการเคืองตา การลองวิชาคงกระพัน น้ำมันที่เหลือจากการทำพิธีอาบนั้น สามารถนำมาทาแก้ปวดได้ผลชะงัดนัก สิ่งต่างๆ ที่อาจารย์ฤาษีสมพิศได้แสดงให้ประชาชนได้รับรู้ ได้เห็น ได้สัมผัสเป็นเพียงวิชาส่วนหนึ่งที่ท่านได้ร่ำเรียนมาเท่านั้น เพราะตลอดชีวิตที่ผ่านมาของท่านนั้น ได้สร้างสมวิชาการทุกแขนง ตลอดจนเวทย์มนต์คาถาอาคมไว้มากมายที่ได้จากอาจารย์ที่เป็นพระและอาจารย์ฆราวาสก ว่า 40 ท่าน

อาจารย์ฤาษีสมพิศ นับเป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มีวิชาความรู้ และเป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือ ผู้คน ในเรื่องต่างๆ มามาก เช่น การดูดวงชะตา ทำพิธีทางโหราศาสตร์ บรวงสรวงตั้งศาลพระภูมิ ตั้งศาลพระพรหม พิธีวางศิลาฤกษ์ สะเดาะเคราะห์ พิธีลงทองเสริมสง่าราศี การสักยันต์ พิธีตัดกรรรม และอื่นๆ



วิธีการตัดกรรมของอาจารย์ฤาษีสมพิศ ลักษณะคล้ายๆ กับวิธีของวัดเขาสมโภชน์ จ. ลพบุรี และต่างกันที่คำภาวนา และส่วนใหญ่ที่ไปแก้กรรมหรือเข้าพิธีตัดกรรม เกือบร้อยละ 90 มักจะได้กัน บางท่านก็แสดงอาการต่างๆ เช่น เจ้าแม่กวนอิมมาลง หลวงปู่โลกเทพอุดรมาลง บางท่านก็ได้สมาธิ เมื่อได้มาอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ทำให้การเจริญสมาธิเร็วขึ้นหลายเท่า ท่านสักยันต์ให้ลูกศิษย์มานานหลายปีแล้ว ลูกศิษย์บางคนที่สักยันต์คงกระพัน เคยเล่าว่าเครื่องจักรกลบีบทับนิ้ว แต่ก็ไม่เป็นอะไรคงเป็นเพราะอนุภาพความศักดิ์สิทธิ์แห่งมหายันต์นั้น

Biography of Arjan Ruesri Sompit Nyanasophi


Ajahn Reusi Sompit Nyanasophi



Ajahn Sompit was born in the Lopburi province of Thailand. From a young age he expressed an interest in both Buddhism and the occult sciences. As is tradition, he ordained as a novice monk when he was still a child. Though he was not a novice for long he did get a chance to meet two lay people, a man and a woman, who took them as his student. These two lay people were practicing the eight precepts and abstaining from eating any meat. People who practice in this manner are known as nak phatibat. They have knowledge of different sciences and practice meditation. From these two teachers he learned various methods of saiysaht and putthamon. Even after disrobing as a novice he continued to learn from these two teachers. After living as a novice he became a dek wat, or a temple boy. This means he lived at the temple and helped the monks with various tasks. He was also able to study with the monks and any other teachers that were willing to teach him there.

Later at age 20, Ajahn Sompit ordained as a monk. He was a monk for about 15 years. During this time he met with and was the student of many different and famous geji ajahn, or meditation masters. He learned all sorts of sciences such as astrology, fortune telling, incantations, etc. He also went on tudong, for many years. This is when a monk goes on foot to live in the forest, caves, mountains, etc. At this time, Ajahn Sompit travelled throughout most of the country and also went to Burma, Laos and Cambodia. He was on a search for teachers and places to practice his mediation.

While still on tudong, Ajahn Sompit met a reusi named Reusi Puth. This reusi was living on a mountain in the Pechabun province of Thailand. Ajahn Sompit stayed to study with this reusi for some time. Later, Ajahn Sompit decided to give up the life of a monk and ordain as a reusi. For him, this path suited his practice better. The life of a reusi was not governed by the rules of a monk. …